วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

พระเนมิราช

พระเนมิราช



            พระเนมิราชเรื่องของพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นเรื่องที่อธิษฐานใจในการที่จะดำรงวงศ์ตระกูลของตนให้เป็นมา คือพระเจ้ากรุงมิถิลา ซึ่งเป็นวงศ์ของพระเจ้าเนมิราชนี้ ในบรรดาวงศ์เหล่านี้องค์ใดก็ตามที่ได้ครองราชสมบัติแล้ว พอปรากฎว่าเส้นพระเกศาหงอก โดยภูษามาลาเวลาที่จำเริญพระเกศา หรือว่าตบแต่งพระเกศาเมื่อเห็นเกศาหงอกก็ถอนมาให้ดู

           พระเจ้าแผ่นดินเมื่อเห็นพระเกศาหงอกก็จะเวนราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส แล้วตัวเองก็จะออกบรรพชาบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตราบจนสิ้นชีวิต เป็นอย่างนี้เรื่อย ๆ มาจนกระทั้งจะถึงกษัตริย์องค์สุดท้าย

            ท่านกล่าวว่าขณะนั้นเนมิราชยังเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ได้พิจารณาเห็นว่าตนจะต้องสิ้นอายุ และในวงค์นี้ก็กำลังเสื่อมทรุดเพราะว่าไม่มีคนที่จะลงมาบำเพ็ญ โดยอย่างชนิดที่ว่าพอแก่แล้วต้องออกไปบำเพ็ญพรตภาวนา วงค์นี้กำลังเสื่อมทรุดลงไปแล้ว จึงติดว่าอย่าเลย เราจะต้องลงมาเพื่อจะได้สืบวงค์เหล่านี้อีกต่อไป จึงได้จุติลงมาเข้าสู่พระครรภ์ของพระมเหสีพระเจ้ากรุงมิถิลา เมื่อครบกำหนดทศมาส เจ้าเนมิราชก็ประสูติออกจากครรภ์พระมารดา บรรดาโหราทั้งหลายต่างก็พยากรณ์ต้องกันว่า พระราชกุมารพระองค์นี้จะต้องเป็นไปตามวงค์ที่เคยทำมา เพราะฉนั้นเข้าลักษณะ ที่ว่ากงเกวียนกำเกวียนย่อมต้องเวียนไปตามกัน จึงให้นามว่า

            พระเนมิราชเรื่องของพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นเรื่องที่อธิษฐานใจในการที่จะดำรงวงศ์ตระกูลของตนให้เป็นมา คือพระเจ้ากรุงมิถิลา ซึ่งเป็นวงศ์ของพระเจ้าเนมิราชนี้ ในบรรดาวงศ์เหล่านี้องค์ใดก็ตามที่ได้ครองราชสมบัติแล้ว พอปรากฎว่าเส้นพระเกศาหงอก โดยภูษามาลาเวลาที่จำเริญพระเกศา หรือว่าตบแต่งพระเกศาเมื่อเห็นเกศาหงอกก็ถอนมาให้ดู

พระเจ้าแผ่นดินเมื่อเห็นพระเกศาหงอกก็จะเวนราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส แล้วตัวเองก็จะออกบรรพชาบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตราบจนสิ้นชีวิต เป็นอย่างนี้เรื่อย ๆ มาจนกระทั้งจะถึงกษัตริย์องค์สุดท้าย

ท่านกล่าวว่าขณะนั้นเนมิราชยังเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ได้พิจารณาเห็นว่าตนจะต้องสิ้นอายุ และในวงค์นี้ก็กำลังเสื่อมทรุดเพราะว่าไม่มีคนที่จะลงมาบำเพ็ญ โดยอย่างชนิดที่ว่าพอแก่แล้วต้องออกไปบำเพ็ญพรตภาวนา วงค์นี้กำลังเสื่อมทรุดลงไปแล้ว จึงติดว่าอย่าเลย เราจะต้องลงมาเพื่อจะได้สืบวงค์เหล่านี้อีกต่อไป จึงได้จุติลงมาเข้าสู่พระครรภ์ของพระมเหสีพระเจ้ากรุงมิถิลา เมื่อครบกำหนดทศมาส เจ้าเนมิราชก็ประสูติออกจากครรภ์พระมารดา บรรดาโหราทั้งหลายต่างก็พยากรณ์ต้องกันว่า พระราชกุมารพระองค์นี้จะต้องเป็นไปตามวงค์ที่เคยทำมา เพราะฉนั้นเข้าลักษณะ ที่ว่ากงเกวียนกำเกวียนย่อมต้องเวียนไปตามกัน จึงให้นามว่า เนมิราช

แล้วเจ้าเนมิราชนั้น เมื่อเจริญวัยขึ้นพอสมควรแล้ว พระบิดานั้นก็เส้นพระเกศาหงอกก็เลยเวนราชสมบัติให้เจ้าเนมิราชครอบครอง เจ้าเนมิราชปกติเป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม จำเริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ จึงได้รับสั่งให้ตั้งศาลขึ้นถึงห้าแห่งคือที่ประตูพระนครที่แห่ง และที่กลางเมืองอีกแห่ง ให้ทานแก่บรรดาผู้ที่ยากจนและขัดสนทั้งหลาย ตัวเองก็พยายามสั่งสอนประชาชนพลเมืองให้ประพฤติตนอยู่ในความดี ให้ยินดีแต่ในสิ่งอันอาจได้โดยชอบธรรม

มิใช่เป็นแต่ในเรื่องนิทาน แม้ในเรื่องความจริงของเรากษัตริย์สมัยสุโขทัยท่านยังปฎิบัติเช่นนี้เมือนกัน คือพ่อขุนรามคำแหง มีพระแท่นมนังศิลาอาสน์ตั้งอยู่ในดงตาล วันฟังธรรมคือวันธรรมสวนะ ท่านก็นิมนต์พระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชนพลเมือง และในวันปกติท่านออกว่าราชการ และสั่งสอนให้ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนพลเมืองตนตั่งอยู่ในศีลในธรรม

มิใช่เป็นแต่ในเรื่องนิทาน แม้ในเรื่องความจริงของเรากษัตริย์สมัยสุโขทัยท่านยังปฎิบัติเช่นนี้เหมือนกัน คือพ่อขุนรามคำแหง มีพระแท่นมนังศิลาอาสน์ตั้งอยู่ในดงตาล วันฟังธรรมคือวันธรรมสวนะ ท่านก็นิมนต์พระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชนพลเมือง และในวันปกติท่านออกว่าราชการ และสั่งสอนให้ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนพลเมืองตนตั่งอยู่ในศีลในธรรม

นี่ก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นบรรดาพวกที่ได้รับการสั่งสอนเหล่านี้ ตายไปก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกมากมาย พวกเทวดาเหล่านั้นก็พากันคิดว่า เออ ? พวกเราน่ะขึ้นมาเกิดบนนี้ได้เพราะอะไร ก็ทราบได้ด่วยการสั่งสอนของเจ้าเนมิราช ก็อยากเห็นพระองค์ จึงพากันไปกราบทูลพระอินทร์ว่า พวกข้าพระองค์นี่อยากเห็นเจ้าเนมิราชสักหน่อย

พระอินทร์เมื่อได้ทราบเช่นนั้น ก็ให้ตุลีเทพบุตรลงไปเชิญพระเจ้าเนมิราชขึ้นมาบนสวรรค์ พระมาคุลีก็รีบลงไปพร้อมทั้งนำเวชยันต์รถทรงของท้าวสักกะ คือพระอินทร์ลงไปด้วย และเมื่อลงไปแล้วจึงเชื้อเชิญให้พระเจ้าเนมิราชขึ้นมา พระเจ้าเนมิราชก็คิดว่า เราได้สั่งสอนให้คนอื่นประพฤติดี ประพฤติชอบแต่คิดว่าสวรรค์เป็นอย่างไรเราก็ไม่เคยเห็น เพราะฉะนั้นสมควรจะไปดู จึงได้ลาบรรดาข้าราชการทั้งหลาย พร้อมทั้งบรรดาพระญาติพระวงค์ แล้วขึ้นเวชยันต์ราชรถมากับพระมาตุลี เมื่อถึงระหว่างทาง พระมาตุลีประสงค์จะแสดงตัวว่าตนนี่เป็นสารถีพิเศษ ที่สามารถจะนำไปที่ใดก็ได้ จึงบอกว่า

“ก่อนที่พระองค์จะไปสวรรค์นี้ อยากจะชมนรกบ้างไหม”

“อ๋อ ? มันก็ดีนะสิ แต่มันจะไกล มันจะใกล้ขนาดไหนล่ะ”

“ก็ไม่ไกลไม่ใกล้เท่าไหร่หรอกพระเจ้าค่ะ”

“แล้วก็เวลาที่ท่านจะไปถึงสวรรค์มันไม่ช้าเกินไปรึ”

“ไม่ช้าเกินไปหรอกพระเจ้าค่ะ เมื่อพระองค์อยากจะดูล่ะก็ ข้าพเจ้า

" ก็อยากที่จะพาไปดูเหมือนกัน”

“ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าก็อยากจะดู”

เมื่อตกลงเช่นนั้น พระมาลาตุลีก็ขับเวชยันต์ราชรถตรงไปที่นรกให้พระเนมิราชได้แลเห็นนรก ว่าที่นรกน่ะศาสนาไหน ๆ ก็มีด้วยกันทั้งนั้น เวันแต่จะมีผิดแผกแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ความคิดเห็นของนักปราชญ์ในศาสนานั้น ๆ

เมืองนรกเป็นเมืองที่ไม่น่าจะได้รับการทัศนาจรอย่างที่พระมาตุลีเทพสารถีนำพระเจ้าเนมิราชลงไป เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยการลงโทษหลายอย่างหลายประการ

ผู้อ่านบางคนคงจะเคยเห็นจิตรกรรมฝาผนัง คือภาพวิจิตรที่ท่านเขียนไว้ตามผนังโบสถ์บ้าง วิหารและศาลาการเปรียญบ้าง อันแสดงถึงการลงโทษมนุษย์ผู้ทำผิดต่าง ๆ หญิงบางคนผ้าผ่อนล่อนจ้อน ทำยังกับนางระบำเปลือยแต่เขามิได้เต้นระบำให้ดู กลับไปปีนป่ายต้นงิ้ว แถมมีเจ้าหนุ่มคู่ขาปีนตามขึ้นไปเสียด้วย ทำไมเขาต้องปีน

ก็เพราะว่าลูกน้องยมบาลทั้ง ๒ - ๓ คนมีหอกไล่แทงทั้งเจ้าหนุ่มเจ้าสาว ซึ้งก็ต้องปีนป่ายขึ้นไปเพื่อให้พ้นจากคมหอกมิใช่แต่เท่านั้น หมารูปร่างโตหน้าตาหน้ากลัวเขี้ยวโง้งโลดไล่อยู่ตามต้นงิ้วนั้นเป็นพัลวัน จะไม่รีบปีนยังไงเล่า ต้นงิ้วมีหนามใครก็รู้ ปกติใครอยากจะขึ้น แต่เมื่อจำเป็นจ้องหนีความตายก็ต้องขึ้น เมื่อขึ้นไปแล้ว เขาพ้นจากคมหอกและหมาที่ดุร้ายก็จริง แต่ข้างบนยังมีศึกหนักอีกคือ แร้งกา ซึ้งมีปากเป็นเหล็กคอยโฉบเฉี่ยว ซึ่งเมื่อมันเฉี่ยวได้ก็เอาไปกินกลางอากาศ เหลือแต่กระดูกก็ทิ้งลงมา ก็ปีนขึ้นมาวิ่งหนีหมาและคมหอกมาขึ้นต้นงิ้วอีก

ในหนังสือพระมาลัยท่านว่า

หนามงิ้วคมยิ่งกรด โดยโสฬสสิบหกองคุลี

มักเมียท่านมันว่าดี หนามงิ้วยอกทั้วตัว

หญิงใดใจมักมาก มันเล่นราดด้วยกามกล

ไปขึ้นงิ้วชัดเดี๋ยวดล ในไม้งิ้วกว่าพันปี

ฟังดูสิว่ามันจะหน้าดูไหม หนามคมกว่ากรดเสียอีกไม่ใช่สั้น ๆ ยาวตั้ง ๑๖ นิ้วนั้นเเหละ นึกถึงสภาพอย่างนี้บางทีการเล่นชู้สู่ชายคงจะเบาบางลงไปบ้าง

“ภูเขาเหล็กพระเจ้าค่ะ”

“เขาทำกรรมอะไรเล่า”

“พวกนี้เจ้าถ้อยหมอความ ตัดสินผิด ๆ ถูก ๆ ตามใจชอบของตน ที่แพ้แก้ให้ชนะแต่ไม่มีสินบนก็ต้องให้แพ้ไปเลย เลยมารับกรรมอยู่อย่างนี้” พวกคอรับชั่น เมื่อตายลงมาขุมนี้ ถูกเขาเอาเหล็กทุบหัวบี้แบน แล้วก็ลุกขึ้นวิ่งหนี ภูเขาเหล็กเป็นไฟก็กลิ้งบดให้ตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่เป็นอย่างนี้ไม่มีจบสิ้น "และอะไรข้างหน้าน่ะ มันคนหรืออะไร สูงโย่งเย่งดังกับต้นตาล แต่มองดูเห็นปากไม่เห็นมี อีกมือสองข้างใหญ่โตมโหฬารพิลึก"

“นี่มันตัวอะไรท่านมาตุลี”

“เปรตพระเจ้าค่ะ”

“เอ ? พวกนี้ไม่มีผ้านุ่งหรืออย่างไร”

“ไม่มีพระเจ้าค่ะ พวกนี้เสวยกรรมต้องอดหิวโหยเพราะรูปากเท่ารูเข็มเท่านั้น จะดูด จะกินอะไรก็ไม่ได้”

“ทำไม เขาจึงเป็นเช่นนั้นล่ะ”

“พวกนี้ ปากเก่งพระเจ้าค่ะ ด่าพ่อด่าแม่ปู่ย่าตายายพี่ป้าน้าอา ตลอดจนพระสงฆ์องค์เจ้าพวกนี้ก็ไม่เว้น ไม่ชอบใจฉันล่ะได้เห็นดีกัน ครูบาอาจารย์ก็ไม่เลือก ฉันไม่สน ไม่ชอบใจด่าเลย เปรตพวกนี้น่าสงสารกินอะไรก็ไม่ได้ ได้แต่ลิ้มเลียเลือดหนองของตัวเองเท่านั้น ส่วนมือที่โต เพราะว่าทำร้ายร่างกายต่อผู้ทีคุณ ตบ ต่อย ตี ทารุณ ฯลฯ

ในขณะนั้นเองท้าวสักกะ คืออินทรเทวราช เห็นว่าพระมาตุลีไปนาน จึงได้สอดส่องทิพย์เนตรลงไปดู ก็เห็นว่าพระมาตุลีพาพระเนมิราชลงไปชมนรกอยู่ กว่าจะหมดเยือนนรก อายุของพระเนมิราชเห็นจะสิ้นเสียก่อนล่ะกระมัง เมื่อคิดได้เช่นนี้ จึงให้มหาชวนะเทพบุตรลงไปตาม มหาชวนะเทพบุตรไปบอกว่า “ท่านมาตุลี เดี๋ยวนี้ท้าวสักกะกำลังรอท่านอยู่”

พระมาตุลีเมื่อได้ฟังมหาชวนะเทพบุตร ก็แสดงอาการให้พระเนมิราชได้เห็นนรกทั้งหมดโดยพร้อมกันในคราวเดียวพร้อมทั้งบอกถึงกรรมของสัตว์เหล่านั้น แล้วก็พาพระเนมิราชขึ้นมายังสวรรค์

และเมื่อถึงแล้ว พระอินทร์พร้อมทั้งเทพยดาทั้งหลายก็พากันมาสักการบูชา แต่ว่าในขณะที่จะมาหาถึงนี่ผ่านวิมานต่าง ๆ กัน จึง เห็นอากัปกิริยาต่างกัน และลักษณะสัณฐานของสิ่งเหล่านั้นก็ต่างกัน

พระเนมิราชสงสัยก็สอบถามพรพะมาตุลี ๆ ก็ชี้แจงให้ฟังทุกประการ

เมื่อมาถึงได้รับการสักการบูชา เทวดาพร้อมทั้งพระอินทร์ก็เชื้อเชิญให้อยู่เสวยสมบัติบนสวรรค์ แต่ความ ประสงค์จะทำเช่นนั้น ตัวเองมีแต่ความเศร้าสลดใจที่ได้เห็นกรรมของมนุษย์ทั้งหลายที่ประพฤติชั่วต้องไปตกนรกเสวยกรรมต่าง ๆ และยินดีที่ได้เห็นมนุษย์ที่ประกอบกรรมดีได้รับผลชอบขึ้นมาเสวยสุขในวิมานเมืองแมน จึงดำริจะสั่งสอนให้สัตว์ทั่งหลายประพฤติชอบมากขึ้นเพื่อจะไปเกิดในสวรรค์

จึงได้ลาพระอินทร์เทพลงมายังเมืองมนุษย์ และมโนปณิฐานของพระองค์ตราบเท่าสิ้นอายุ

คติที่เราได้จากเรื่องนี้คือ เรื่องการตั้งใจมั่นมุ่งหวังอย่างไร ตั้งใจแล้วต้องให้สำเร็จผล อย่าทอดทิ้งเสียกลางคัน แม้พระพุทธเจ้าของเราตั้งอธิษฐานในใจว่าไม่สำเร็จจะไม่ลุกขึ้น และพระองค์ก็สำเร็จจริง ๆ ผลดีจึงเกิดแก่พวกเราจนกระทั่งบัดนี้ เพราะมิฉนั้นแล้วพระพุทธศาสนาของเราจะเกิดมีขึ้นไม่ได้เลย และมีอีกอย่างที่ไม่ควรลืมก็คือ ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้รับผลชั่วอย่างแน่นอน ,

อ้างอิง
http://thai.mindcyber.com/nitan/10/1122.php

http://www.larnbuddhism.com/buddha/nemirash.html

http://www.larnbuddhism.com/buddha/nemirash2.html


พระเตมีย์ใบ้

พระเตมีย์ใบ้


           ในครั้งก่อนนานมาแล้ว พระเจ้ากาสิกราชครองสมบัติในเมืองพาราณสี แต่พระองค์ไม่มีราชโอรสและธิดา ด้วยกลัวว่าจะไม่มีผู้สืบสกุล จึงให้นางจันทเทวีและนางสนมทำพิธีขอพระโอรส พระอัครมเหสีก็ทรงทำตาม จึงได้ทรงครรภ์เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทรงประสูติออกมาเป็นราชกุมาร พระเจ้ากาสิกราชทรงดีพระทัยเป็นอันมาก

           จัดให้การสมโภชและพระราชทานนางนมให้แก่พระราชกุมารและขนานนามว่า เตมีย์กุมารเพราะในวันประสูตินั้นฝนได้ตกทั่วทั้งพระนครและเป็นเหตุให้พระทัยของพระองค์และราษฏร์ได้รับความแช่มชื่น เรื่องความกลัวว่าราชวงศ์จะสูญเสียก็เป็นอันหมดไปพระเจ้ากาสิกราชทรงโปรดปรานพระราชกุมารมาก บางครั้งถึงกับอุ้มออกไปทรงว่าราชการด้วย....

            วันหนึ่งขณะที่พระราชบิดาอุ้มออกไปทรงว่าราชการอยู่นั้น อำมาตย์ได้นำโจรมาให้ ทรงวินิจฉัย ๔ คนด้วยกัน พระราชาทรงสั่งให้ลงอาญาโจรเหล่านั้น..คนที่ ๑ ให้เฆี่ยนด้วยหนามหวาย และอีกคนให้เอาหอกแทงทรมานให้เจ็บปวดแสนสาหัสคน ๑ ให้เอาหลาวเสียบไว้ที้งเป็น..คน ๑ ให้คุมขังไว้

            พระราชกุมารได้ทรงเห็นเช่นนั้น ก็ระลึกความหลังครั้งไปอยู่นรก ก็คิดว่าพระราชบิดาของเราทำดังนี้น่ากลัวเหลือเกิน ตายไปตกนรกแน่นอน เราเองถ้าใหญ่ขึ้นมาก็ต้องครอบครองแผ่นดิน ก็ต้องทำอย่างพระราชบิดาแน่นอน ทำอย่างไรจึงจะพ้นไปจากการต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ เทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาของพระราชกุมารในครั้งก่อนสิงอยู่ที่เศวตฉัตร..ได้แนะนำพระราชกุมารให้ปฏิบัติ ๓ ประการคือ

๑ . จงเป็นคนง่อย

๒. จงเป็นคนหูหนวก

๓. จงเป็นใบ้ แล้วจะพ้นสิ่งเหล่านี้

            นับตั้งแต่นั้นมา เตมีย์ก็เริ่มปฏิบัติไม่พูดไม่จาอะไรทั้งนั้นใครมาพูดก็ทำเป็นไม่ใด้ยิน เอาอุ้มไปวางไว้ที่ไหนก็นั่งอยู่อย่างนั้น ไม่ขยับเขยื้อนไปในที่ใด พระราชบิดาทรงสงสัยว่าแต่ก่อนพระราชกุมารก็เหมือนเด็กทั่วไปรื่นเริงโลดเต้น..

             เจรจาเสียงแจ้วอยู่ตลอดเวลาทำไมกลับมาเงียบขรึมไม่พุดไม่จา ใครจะพูดอะไรก็ไม่ได้ยิน คงจะเกิดโรคภัยชนิดใดขึ้นแน่ จึงให้หมอตรวจ ก็มิได้พบว่าพระราชกุมารเป็นอะไร

             คงเป็นปกติทุกอย่าง ก็ทรงให้ทดลองหลายอย่างหลายประการ เป็นตันว่าให้อยู่ในที่สกปรก พระเตมีย์อดทนอยู่ได้ แม้จะหิวก็ไม่ทรงกันแสงแม้จะกลัวก็ไม่แสดงอาการอย่างไร เพราะเห็นว่าภัยในนรกร้ายแรงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน..จึงคงเฉย ๆ ทำเอาพระราชบิดาสิ้นปัญญา

            พวกอำมาตย์รับอาสาว่าจะทดลองดูก่อน ก็ทรงอนุญาติให้..ครั้งแรกเมื่อให้พระเตมีย์นั่งอยู่ในเรือนแล้วแกล้งจุดไฟเพื่อจะให้พระเตมีย์กลัว..แต่หาได้ทำให้พระเตมีย์หวาดกลัวไม่คงเป็นปกติอยู่

            ทดลองอย่างนี้ตั้งปี ก็ไม่พบความผิดปกติอย่างไร ต่อไปก็ทดลองด้วยช้างตกมัน โดยนำพระราชกุมารไปประทับนั่งที่พระลาน..ให้มีเด็กห้อมล้อมหมู่มาก..แล้วให้ปล่อยช้างที่ฝึกแล้วเชือกหนึ่ง วิ่งตรงเข้าไปจะเหยียบพระราชกุมาร เด็กที่ห้อมล้อมอยู่หวาดกลัวร้องไห้พากันวิ่งหนีกระจัดกระจายไป แต่พระเตมีย์ก็คงทำเป็นไม่รู้ชี้เช่นเดิม

          ทดลองอย่างนี้สิ้นเวลาตั้งปีก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรขึ้นมา พระกุมารเคยเงียบไม่กระดุกกระดิกอย่างไรก็คงอย่างนั้นแม้ช้างจะจับพระกายขึ้นเพื่อจะฟาดก็ไม่ตกใจกลัวเพราะมุ่งหวังอย่างเดียวจะให้พ้นจากการเป็นพระเจ้าแผ่นดินให้ ต่อไปก็ทดลองด้วยงู ให้พระเตมีย์นั่งอยู่ แล้วให้ปล่อยงูมารัด ธรรมดาเด็กย่อมจะกลัวงู อย่าว่าแต่เด็กเลยผู้ใหญ่ก็เถอะ...แต่ก็ไม่ทำให้พระเตมีย์หวาดกลัวไปได้ คงนั่งเฉยทำเหมือนรูปปั้นเสีย เล่นเอาอำมาตย์เจ้าปัญญาสั่นหัว

          ทดลองอย่างนี้อีกเป็นปีก็ไม่อาจจะจับพิรุธพระกุมารได้ ต่อไปให้ทดลองด้วยการให้พระเตมีย์นี่งอยู่ แล้วให้คนถือดาบวี่งมาจะทำอันตราย แต่พระกุมารทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ หูไม่ได้ยิน ปากก็ไม่มีเสียง กายไม่กระดิกกระเดี้ย ทดลองอย่างนี้อีกเป็นปีก็จับอะไรพระกุมารไม่ได้.. ต่อไปก็ทดลองเสียง โดยให้พระเตมีย์นั่งอยู่พระองค์เดียว แล้วจู่ ๆ เสียงอึกทึกครึกโครมก็ดังขึ้นมาแต่พระเตมีย์คงทำไม่ได้ยินเช่นเคย การทดลองของอำมาตย์เป็นระยะทั้งสิ้น ๗ ปี หลายปีที่ทำมาก็ไม่สามารถทำให้พระเตมีย์พูดออกมาได้ตั้งแต่ ๙ ขวบ จนกระทั่ง ๑๖ ขวบ พระเตมีย์ก็คงทำเช่นนั้น

           เมื่อวัยแรกรุ่นย่อมจะชอบใจในกามารมณ์ จึงจัดให้ให้สาวน้อย ๆ มาเล้าโลมประการใด ๆ กอดรัดบ้าง ลูบโน่นบ้างลูบนี่บ้าง จนกระทั่งเปิดโน่นให้ดูบ้าง เปิดนี่ให้ดูบ้าง จะทำอย่างไรพระเตมีย์ก็คงทำเฉยไม่รู้ไม่ชี้ทองไม่รู้ร้อนตลอดกาล

         ใครจะพูดอย่างไร จะทำอย่างไรพระเตมีย์ไม่ได้ยินทั้งนั้น ไม่ยอมเคลื่อนไหวไม่ร้องไห้เหมือนเด็กๆ ไม่อ้าปากส่งเสียงอะไรออกมา ผลที่สุดทั้งพระราชบิดาและอำมาตย์ลงความเห็นว่าพระกุมารคงเป็นคนกาลกิณีเสียแล้ว.. ขืนให้อยู่ต่อไปคงจะเกิดอันตรายขึ้นแก่พระองค์แก่สมบัติและแก่พระอัครมเหสี ควรจะออกไปทิ้งเสียที่ป่าช้าผีดิบนอกเมือง พระราชาก็เห็นด้วย จึงดำริจะให้เอาไปทิ้งเสีย แต่พระเทวีอัครมเหสีมาเฝ้ากราบทูลว่า

"ขอเดชะ..พระองค์ได้พระราชทานพรไว้แก่ข้าพระองค์บัดนี้หม่อมฉันจะทูลขอพรที่ได้ให้ไว้นั้น..."

"พระเทวีเธอขออะไรก็ตรัสไปถ้าไม่หลือวิสัยแล้วจะให้"

"ข้าพระองค์ขอราชสมบัติให้พระเตมีย์"

"อะไรกันพระเทวีก็เจ้าเตมีย์เป็นคนใบ้ แล้วก็หูหนวกเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้อย่างไร"

"ก็พระเตมีย์เป็นอย่างนั้น หม่อมฉันจึงขอพระราชสมบัติ"

"ไม่ได้พระเทวีเลือกอย่างอื่นเถิด"

"หม่อมฉันขอเลือกให้พระเตมีย์ครองแผ่นดินแม้ไม่มากเพียง ๗ ปีก็พอ"

"ไม่ได้พระเทวีจะเป็นความเดือดร้อนแก่คนอื่นมากมายนัก ลูกเราไม่มีความสามารถถ้าดีอยู่อย่าว่าแต่ ๗ ปีเลย ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะให้สมบัติตลอดไป"

"ขอสัก ๑ ปีก็แล้วกัน"

"ไม่ได้พระเทวี"

"ถ้าอย่างนั้นขอ ๗ วัน หม่อมฉันขอให้พระเตมีย์ได้เป็นสักหน่อยเถิด"

พระเจ้ากาสิกราชก็ยอมตกลง จึงได้ให้ตกแต่งร่างกายของพระเตมีย์ในเครื่องกษัตริย์ แล้วให้เสด็จเลียบพระนครประกาศให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทราบว่า บัดนี้พระเตมีย์ได้เป็นกษัตริย์แม้ใคร ๆ จะทำอย่างไรพระเตมีย์ยังคงเฉย ร่างกายไม่เคลื่อนไหวเป็นเหมือนหุ่น เขาวางไว้ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่พูดไม่จาอะไรทั้งสิ้น ใครจะทำอะไรก็ไม่ได้อยู่ในความสนใจของพระกุมารทั้งสิ้น พอครบ ๗ วัน

พระนางจันทเทวีก็ทรงพระกันแสงเพราะครบกำหนดที่สัญญาไว้กับพระราชาแล้ว พระราชาจึงมอบพระเตมีย์กุมารให้กับนายสุนันทสารถีเอาใส่รถไปฝังเสียที่ป่าช้าดิบภายนอกเมือง นายสุนันทก็เอาพระเตมีย์ใส่ท้ายรถขับออกจากตัวเมืองไปยังป่าช้าผีดิบ แต่หารู้ไม่ว่าทางที่จะไปนั้นม้นไม่ใช่ป่าช้าผีดิบแต่เป็นป่าอีกหนึ่งต่างหาก..

ความผิดพลาดของนายสารถี นับตั้งแต่เริ่มเทียมรถม้าแล้วคือ แทนที่จะเอารถสำหรับใส่ศพ กลับเอารถมงคลมาเทียมแทนและเมื่อรับพระเตมีย์แล้วก็คิดว่าจะขับไปป่าช้าผีดิบซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกจึงเป็นอันว่านายสารถีผิดพลาดตลอดมา.. แต่การผิดพลาดนี้เป็นผลดีของพระเตมีย์

เมื่อถึงป่านอกเมือง ซึ่งนายสุนันทคิดว่าเป็นป่าช้าผีดิบ เขาก็หยุดรถหยิบจอบเสียมลงไปเพื่อจะขุดหลุมฝังพระกุมารเสีย หูของเขายังแว่วพระดำรัสของพระราชาที่ว่า

"ลูกข้าคนนี้ เป็นกาลกิณีเองจงเอาไปป่าช้าแล้วขุดหลุมสี่เหลียมให้ลึก แล้วเอาจอบทุบหัวมันเสียก่อนแล้วค่อยฝังมันทีหลัง ช่วยมันหน่อยนะอย่าให้ฝังมันต้องถูกฝังทั้งเป็นเลย

ในขณะที่นายสารถีกำลังขุดหลุมอยู่ไมไกลจากรถนี้นเอง พระเตมีย์ก็คิดว่าร่างกายของเราไมได้เคลื่อนไหวมาตั้ง ๑๖ ปี จะเป็นอย่างไรบ้างก็ไม่รู้ ก็ทรงกายลุกขึ้นลงมาจากรถทดลองเดินไปมาอยู่ข้างรถ

"ไม่เป็นอะไร มือเท้าไม่ได้เป็นง่อยเปลี้ยเสียแต่อย่างใด แต่กำลังเล่าจะเป็นไฉน"

คิดแล้วก็จับเอางอนรถยกขึ้น..เป็นความมหัศจรรย์...พระเตมีย์ยกรถขึ้นกวัดแกว่งได้เหมือนยกเอารถตุ๊กตาเบาแสนเบาแล้วกลับวางอย่างเดิม แลเห็นนายสารถีก้มหน้าก้มตาขุดหลุมอยู่โดยไม่ทราบว่าพระองค์ได้ทำอย่างไรบ้าง จึงเดินเข้าไปยืนอยู่ใกล้ก็ไม่รู้แต่ก็ตกใจเมื่อได้ยินเสียง

"สารถีท่านขุดหลุมสี่เหลียมทำไมกัน"

เขาเหลียวหน้ามามองแต่ก็จำไม่ได้ว่าเป็นพระกุมารที่ตนนำมาคิดเสียว่าเป็นคนเดินทางผ่านมาเห็นตนกำลังขุดหลุมอยู่ก็แวะเจ้ามาสอบถามดู

"ขุดหลุมฝังคน" เขาตอบสั้น

"ฝังใครกันล่ะ?"

"ฝังลูกพระเจ้าแผ่นดิน"

"ฝังทำไมกันล่ะ?"

"เรื่องมันยืดยาวท่านอยากจะรู้ไปทำไม"

"ก็อยากจะรู้บ้างว่าคน ๆ นั้นเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินจะมาถูกฝังเพราะโทษอะไร" นายสารถีก็ชี้แจงว่า

"ไม่มีโทษอะไรหรอก แต่พระราชกุมารเป็นคนกาลกิณีขืนปล่อยไว้นานไปความอุบาทว์ ทั้งหลายก็จะเกิดแก่ราชสมบัติ พระเตมีย์จึงแสร้งตรัสถามต่อไปว่า

"คนกาลกิณีน่ะเป็นอย่างไร"

"ก็เป็นคนไม่ดีน่ะสิ" นายสารถีเริ่มฉุน

"ไม่ดีอย่างไร"

"เอ..ท่านนี่ควรจะไปเป็นศาลตุลาการ..แทนที่จะเป็นคนเดินทางเพราะแก่ชักเสียจริง"

พระกุมารก็ไม่ขุ่นเคือง คงมีพระดำรัสเรียบ ๆ ถามต่อไป

"ข้าพเจ้าอยากรู้จริง ๆ ก็เลยรบกวนท่านหน่อย"

"เอ๊า...อย่างนั้นคอยฟัง..คือว่าพระโอรสของเจ้านายข้าพเจ้าคนนี้ เกิดมามีลักษณะสวยงามน่าเอ็นดูอยู่หรอก แต่เสียอย่างเดียวภายหลังมาเกิดไม่พูดไม่จาแขนขาไม่ยกไม่ก้าว เสียเฉย ๆ ยังงั้นเเหละใครจะพูดอะไร หูก็แถมหนวกเสียด้วยเลยเป็นอันว่าเหมือนตุ๊กตาตัวโต ๆ ที่เขาตั้งไว้"

"แล้วอะไรอีกล่ะ"

"ก็ไม่ยังไงหรอกพระเจ้าแผ่นดินรอมาถึง ๑๖ ปี ก็ไม่เห็นดีขึ้น เลยตัดสินให้ข้าพเจ้าเอามาฝังเสียหลุมที่ขุดนี่แหละที่จะฝังพระราชกุมาร ท่านเข้าใจหรือยัง"

"ท่านรู้ไหมว่าเราเป็นใคร" จึงมองอย่างพินิจพิจารณา แต่เขาก็จำไม่ได้เพราะผู้ที่เขาเห็นอยู่ตรงหน้าบัดนี้ไม่ใช่พระกุมารผู้เป็นง่อยเปลี้ยเสียแข้งขาเสียแล้ว แม้ว่าหน้าตาจะคล้ายคลึงกับพระกุมารแต่เขาก็ไม่แน่ใจนักจึงทำอ้ำอึ้งอยู่

เมื่อเห็นสารถีมองดูด้วยความสงสัยจึงประกาศตนว่า

"สารถี..เราคือเตมีย์กุมารที่ท่านจะนำมาฝัง ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่าเป็นคนกาลกิณีหรือเปล่า..ดูสิเราเป็นง่อยหรือเปล่า"

นายสารถีได้แต่มองอย่างสงสัย แล้วเอ่ยขึ้นรำพึงกับตัวว่า

"เอ พระกุมารก็ไม่น่าเป็นไปได้ จะว่าไม่ใช่ก็กระไรอยู่"

"เราคือเตมีย์กุมาร โอรสของพระเจ้ากาสิกราชที่ท่านอาศัยเลี้ยงชีพด้วยการเป็นราชบริพารอยู่บัดนี้ อย่าสงสัยเลยท่านขุดหลุมฝังเราน่ะเป็นเรื่องไม่เป็นธรรมเลย"

"ทำไมไม่เป็นธรรม?"

"ท่านมองดูสิว่าเราเป็นคนกาลกิณีหรือเปล่า ท่านได้รับคำสั่งให้ฝังคนกาลกิณีต่างหาก"

"จริงสินะ" สารถีคิดแต่เขาก็อ้ำอึ้งอยู่ไม่รู้จะกล่าวออกว่ากระไรอีก ที่เขาจะนำไปฝังนั้นเอง เขาจึงก้มกราบที่เท้าของพระเตมีย์

"โอ้..ข้าพระบาทเป็นคนโง่เขลา ทั้งนายของตนเองก็จำไม่ได้ เหมือนปาฏิหาริย์ บันดาลให้เกิดไม่น่าเชื่อ"

"ทำไมไม่เชื่อ"

"เพราะพระองค์ไม่เคลื่อนไหวร่างกายตั้งสิบกว่าปีอวัยวะควรจะใช้ไม่ได้ ควรจะเหี่ยวแห้งไป แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่นับว่าเป็นความประหลาดมากทีเดียว"

"เมื่อท่านเห็นเราเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านยังจะคิดฝังเราอีกหรือเปล่า"

"ไม่พะย่ะค่ะ ข้าพระบาทเลิกคิดจะทำร้ายพระองค์แล้ว ข้าพระพระองค์เข้าไปเฝ้าพระราชบิดามารดาเพื่อจะได้ครองราชสมบัติต่อไป"

"เราไม่คิดจะกลับไปสู่สถานเช่นนั้นอีก เพราะที่นั้นเป็นเหตุให้กระทำความชั่ว ซึ่งต่อไปจะทำให้บังเกิดในนรกอย่างไม่รู้จะผุดจะเกิดเมื่อไหร่ ?"

แต่นายสารถีก็ยังแสดงความดีใจ

"ถ้าข้าพระองค์นำพระองค์กลับเข้าไปได้ใคร ๆ ก็ต้องแสดงความยินดีกับพระองค์ และข้าพระองค์ก็จะได้เงินทองทรัพย์สมบัติผ้าผ่อนและแพรพรรณต่าง ๆ จากคนเหล่านี้ เป็นต้นว่า

พระราชบิดามารดาของพระองค์ก็ทรงยินดี ข้าพระองค์อาจจะได้ยศศักดิ์ บริวารและ อะไรต่าง ๆ ตามความปรารถนาเพราะ ใคร ๆ แสดงความสามารถที่จะให้พระองค์ไม่กลายเป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขาเป็นคนหูหนวกเป็นใบ้มาตั้งสิบกว่าปีก็ไม่สำเร็จ แต่ข้าพระองค์กลับทำได้ เป็นความดีใจที่เหนือความดีใจทั้งหมดที่เคยมี ข้าพระองค์กำลังจะรับความสุข ไม่ต้องลำบากเช่นเดี๋ยวนี้"

"ท่านอย่าเพิ่งดีใจไปก่อนเราจะว่าให้ฟังเราเป็นคนไม่มีญาติขาดมิตร เป็นคนกำพร้า เป็นคนกาลกิณีจนเขาต้องให้ท่านเอาเราไปฝังเสียยังป่าช้าผีดิบ..ท่านนำเรากลับไปก็ไม่ดีท่านนั้นเเหละอาจจะกลายเป็นคนกาลกิณีไปก็ได้เพระใคร ๆ เขาก็เข้าใจอย่างนั้นแล้วท่านจะฝืนความนึกคิดคนอื่นได้อย่างไร เราสละแล้วด้วยประการทั้งปวง บ้านเรือนแว่นแคว้นเราไม่มี เราจะบำเพ็ญพรตรักษาศีลอยู่ในป่านี้โดยไม่กลับไปอีกแล้ว"

"พระองค์น่าจะตรัสกับพระราชบิดามารดาเสียก่อน"

"ไม่ล่ะ เราความเพียรเพื่อจะออกจากเมืองเป็นจำนวนถึง ๑๐ กว่าปี ความตั้งใจของเราจะสำเร็จแล้ว เราจะไม่เข้าไปสู่สถานที่ทำกรรมอีกล่ะ ถ้าเราเป็นพระเจ้าแผ่นดินอาจจะอยู่ไปได้หลายสิบปี แต่เราจะต้องทำกรรมแล้วไปตกอยู่ในนรกตั้งหมื่นปี ท่านลองคิดดูว่าพระเจ้าแผ่นดินจะต้องสั่งให้เขาเฆี่ยนตี..ฆ่าคนนี้..ทำทรมานคนโน้น..ริบทรัพย์คนนั้น..ริบทรัพย์คนโน้น..วันละเท่าไร ปีละเท่าไร แล้วผลของการกระทำความชั่วนั้นจะไม่ย้อนกลับมาให้ผลเราบ้างหรือ



นายสารถีอดที่จะค้านไม่ได้

"พระเจ้าแผ่นดินจะทรงทำอย่างนั้น..ว่าโดยทางโลกยินยอมว่าเป็นความถูกต้อง เขาให้อำนาจที่จะกระทำ แต่ท่านต้องไม่ลืมนะว่าจะทำอย่างไรก็ไม่ผิดจากทางโลก..แต่ทางธรรมไม่เคยยกเว้นให้ใคร ทางธรรมมีอยู่ว่าทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ผลของการทำดีนำไปสู่สวรรค์ ผลของการทำชั่วนำไปสู่นรก"



นายสารถีจึงกราบทูลว่า

"ข้าพระองค์เป็นคนเขลา ยังคิดเป็นความสุขสบายแต่เมื่อพระองค์ดำรัสก็เห็นได้จริงคงอย่างนั้น ทุกคนต้องรักขีวิตร่างกายของตนทั้งนั้น เมื่อใดใครมาทำอันตรายก็เป็นธรรมดาต้องไม่ชอบ เมื่อพระองค์เห็นว่าโลกยุ่งมากนักจะบวช ข้าพระองค์ก็จะบวชเหมือนกัน" พระกุมารดำริว่า



"หากให้นายสารถีบวชเสีย ม้ารถก็เสียหาย และพระราชบิดามารดาคงได้รับความโทมนัสที่จะเอาฝังเสีย ถ้าให้ท่านกลับคืนไปเมืองก็จะทำให้พระองค์เสด็จมาดูเรา ได้รับความโสมนัส และบางทีพระราชบิดาจะกลับใจประพฤติชอบขึ้นมาบ้าง" จึงตรัสว่า



"เธอกลับไปส่งข่าวแก่พระราชบิดามารดาก่อนเถิดแล้วค่อยมาบวชทีหลัง เพราะบวชด้วยความเป็นหนี้ไม่ดีเลย"



นายสารถียินดีจะกลับไปทูลพระเจ้าแผ่นดิน แต่เกรงว่าเมื่อตนไปกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินแล้ว เมื่อเสด็จมาดูไม่พบพระกุมารก็เลยกลายเป็นว่าตนโกหก อาจจะถูกลงพระอาญาได้ จึงทูลขอพระกุมารไว้อย่าได้เสด็จไปที่อื่น ซึ่งพระกุมารก็รับคำนายสารถีถึงได้กลับไป



พระนางจันทรเทวี นับตั้งแต่นายสารถีเอาพระราชกุมารไปแล้วพระองค์ก็คอยเฝ้ามองอยู่ว่าเมื่อไรนายสารถีจะกลับมา จะได้ทราบเรื่องพระโอรสที่รักบ้าง



เมื่อเห็นนายสารถีกลับมาคนเดียวก็แน่พระทัยว่าพระราชโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว น้ำพระเนตรก็ไหลอาบพระปรางด้วยความโทมนัส ตรัสถามนายสารถีว่า



"พ่อสารถี ที่เอาโอรสของเราไปฝังนั้น พ่อได้รับคำสั่งเสียจากโอรสของเราอย่างไรบ้าง และโอรสของเราได้ทำอย่างไร"



"ขอเดชะพระแม่เจ้า ข้าพระบาทจะเล่าเหตุการณ์ที่เกิดกับพระราชกุมารให้ฟังตั้งแต่ต้นจนปลาย"



แล้วเขาก็เล่าตั้งเเต่นำเอาพระโอรสอออกไปขุดหลุมจะฝังพระโอรสก็กลับกลายหายจากง่อยเปลี้ยเสียขา เจรจาได้ทรงพลกำลังยกรถที่ขี่ออกไปกวัดแกว่ง จนกระทั่งตนได้ทราบความจริงว่าทำไมพระกุมารจึงได้ทำอย่างนั้น แล้วเขาก็ลงท้ายว่า

"ขอเดชะ บัดนี้พระองค์ทรงผนวชอยู่ในราวเบื้องป่าบูรพาทิศเมืองนี้พระเจ้าข้า"

เท่านั้นเองพระนางก็ลิงโลดพระทัยตรัสออกมาว่า



"โอ..พ่อเตมีย์ของแม่ไม่ตายดอกหรือ เออ? ดีใจ ดีใจจริงๆ" สองพระกรก็ทาบพระอุระ ข่มความตื้นตันไว้ในพระทัย ถึงพระกาสิกราชก็ดีพระทัยเช่นกัน

การที่พระองค์ให้เอาพระเตมีตย์ไปฝังเสียนั้น ใช่ว่าพระองค์จะชิงชังหรือรังเกลียดก็หามิได้ แท้ที่จริงเพราะพระองค์กลัวอันตรายจะเกิดกับพระราชวงศ์ ตลอดจนพระมเหสีที่รักต่างหาก และนายสารถีก็ได้กราบทูลว่า



"พระราชกุมารทรงพระสรีระโฉมงามสง่าเหลือเกินมีสุรเสียงไพเราะตรัสออกมาน่าฟัง เหตุที่เป็นดังนั้นเพราะพระกุมารตรัสเล่าให้ฟังว่า



ทรงระลึกชาติได้ได้ว่าครั้งชาติก่อนพระองค์เคยเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ทำกรรมมีการจับกุมขังเฆี่ยนฆ่านักโทษมี ประการ ต่าง ๆ ครั้นพระองค์สวรรณคตแล้วได้ไปบังเกิดในนรกเป็นเวลานาน



เหมือนคนที่ถูกงูกัด มองเห็นสิ่งอะไรคล้ายกับงูก็ย่อมจะกลัวไปหมด ฉะนั้นข้าพระองค์เองยังอยากจะบวชอยู่ในป่านั้นด้วย แต่พระกุมารไม่ยอมให้ข้าพระองค์บวช บอกให้ข้าพระองค์กลับมาทูลเรื่องราวให้พระองค์ทั้งสองทราบเสียก่อน แล้วจึงค่อยไปบวชภายหลัง ข้าพระองค์จึงได้รีบกลับมากลาบทูลให้ทราบ หากพระองค์อยากจะเสด็จไปสถานที่นั้น ข้าพระองค์จักนำไปเอง”



พระเจ้ากาสิกราชมีพระดำรัสให้เตรียมพโยธาเพื่อจะเสด็จไปเฝ้าพระเตมีย์กุมาร ซึ่งบวชบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าด้านปราจีนทิศของเมือง แต่การเข้าไปนี้พระราชาเป็นผู้เสด็จเข้าไปก่อนเพื่อสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน พระเทวีจึงเสด็จเข้าไป เมื่อเห็นพระโอรสเสด็จประทับนั่งอยู่ ด้วยความปลื้มปีติพระนางตรงเข้าไปกอดพระบาทของพระโอรส ทรงกันแสงสะอึกสะอึ่นแล้วถอยออกมา



“พ่อเตมีย์บริโภคแต่ใบไม้พลไม้ในป่า ทำไมจึงมีร่างกายสดใส"

พระราชาจึงถามพระเตมีย์ว่า เตมีย์กุมารจึงทูลตอบว่า



“ขอเดชะการที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่า สละความห่วงใยไม่ให้มาเกาะเกี่ยวจิตใจ อะไรที่ล่วงมาแล้วก็ไม่คิดเศร้าโศก ไม่คิดอยากได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง พยายามรักษาจิตใจในสิ่งที่เป็นปัจจุปันเท่านั้น จึงทำให้ผิวพรรณของหม่อมฉันไม่เศร้าหมอง”



“เมื่อพ่อไม่เป็นกาลกิณีแล้ว พ่อก็ควรจะกลับไปครองราชสมบัติเพื่อประโยชย์แก่ชนหมู่มากเถิด บัดนี้ก็เอาเบญจราชกกุธภัณฑ์มาด้วยแล้ว และเมื่อกลับไปถึงบ้านเมืองแล้วจะได้ ไปสู่ขอลูกกษัตริย์อื่นให้มาเป็นอัครมเหสี พระกูลวงศ์ของเราก็ไม่เสียไป”

เตมีย์กลับกล่าวตัดบทว่า



การบวชควรจะบวชเมื่อยังหนุ่มเพราะสังขารร่างกายของเราตกอยู่ในคติของธรรมดา เกิดแล้วก็เจ็บตายไปตามสภาพรู้ไม่ได้ว่าเราจะตายเมื่อใด



พระราชบิดาก็คงเห็น บางคนลูกตายก่อนพ่อแม่ น้องตายก่อนพี่ เหล่านี้แล้ว จะมัวประมาทอยู่ได้อย่างไร โลกถูกครอบงำอยู่ด้วยมฤตยู พระองค์ลองคิดดูช่างหูกเขาจะทอผ้าสักผืนหนึ่ง ทอไปทอไปข้างหน้า ก็น้อยเข้าฉันใด ชีวิตของคนเราก็เช่นนั้นพระองค์อย่ามัวประมาทอยู่เลย”



พระราชาได้สดับแล้วก็คิดจะบวชบ้าง แต่ก็คิดจะลองใจเตมีย์กุมารดูอีก ก็ตรัสชวนในราชสมบัติและยกเอากามคุณต่าง ๆ มาล่อ แต่พระเตมีย์ก็คงยืนยันเช่นนั้นพร้อมกับอธิบายถึงผลภัยของราชสมบัติมีประการต่าง ๆ ตนพระราชาตกลงพระทัยจะผนวช



จึงให้เอากลองไปตีป่าวประกาศว่าใครอยากบวชในพระราชสำนักพระเตมีย์ก็จงบวชเถิด และมิใช่แต่เท่านั้น ยังจารึกแผ่นทองคำไปติดไว้ที่เสาท้องพระโรงว่า ใครต้องการทรัพย์สมบัติใด ๆ ในคลังหลวงจงมาเอาไปเถิด



พร้อมกันนั้นก็ให้เปิดพระคลังทั้งสิบสองพระคลังเพื่อจะให้คนที่ปรารถนาจะได้ขนเอา ประชาชนราษฎรพากันแตกตื่นไปบวชในพระราชสำนักพระเตมีย์ บ้านเรือนก็เปิดทิ้งไว้โดยไม่สนใจ ที่บริเวณสามโยชน์ เต็มไปด้วยดาบสและดาสินี บรรดารถและช้างม้าที่พระราชานำมาแต่เมืองก็ปล่อยให้ผุพัง ช้างม้าก็กลายเป็นม้าป่าช้างป่าเกลื่อนไปในป่านั้น

พระราชาที่อยู่ใกล้เคียงได้ทราบว่า กรุงพาราณสีไม่มีผู้คุ้มครองรักษา ก็ยกพหลโยธาหมายจะยึดครองเอาไว้ในอำนาจ



เมื่อมาถึงได้เห็นประกาศที่พระกาสิกราชติดไว้ ก็ทำ ให้เกิดสงสัยว่า ทำไมคนเหล่านี้จึงทิ้งสมบัติทั้งปวงเสีย ออกไปบวชอยู่ในป่าได้ บ้านเรือนราษฎรก็ทิ้งไว้ ประตูเมืองก็หาคนปิดมิได้ แต่ทรัพย์สมบัติยังคงอยู่ทุกอย่าง เลยยกพหลโยธาตามออกในป่า พบพระราชาและพลเมืองบวชเป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่านั้น



และเมื่อได้สดับธรรมะที่พระเตมีย์ให้โอวาทเข้าอีก เลยทำให้คิดจะหลีกเร้นออกหาความสุข พากันสละช้างม้าตลอดจนเครื่องอาวุธ บวชอยู่ในสำนักพระเตมีย์ ในบริเวณป่าดาษดา ไปด้วยรถที่ผุพังทรุดโทรม สัตว์ป่าวิ่งกันไปในป่าเกลื่อนไปหมดล้วนแต่เชื่อง ๆ รวมอยู่ใกล้ ๆ กับบรรดาฤษีเหล่านั้นก็บำเพ็ญฌานสมาบัติ ตายไปได้บังเกิดในเทวโลก



คติเรื่องนี้ที่ควรจะได้ คือการตั้งใจแน่วแน่

อยากจะได้สิ่งอันใดสมดังความตั้งใจอันนั้น

ก็พยายามจนสำเร็จและได้เห็นความ อดทน

อดกลั้นของพระเตมีย์ ซึ่งต้องทำ เป็นคนง่อย

คนใบ้ คนหูหนวกสารพัดเป็นเวลาตั้ง ๑๐ กว่าปี

หากเราจะตั้งใจแล้วพยายามทำก็จะต้องสำเร็จจนได้

ในวันหนึ่ง เรื่องพระเตมีย์ก็จบลงด้วยความสำเร็จทุกประการฉะนี้



เรื่องพระเจ้าสิบชาติ เป็นเรื่องที่มาจากคัมภีร์พุทธศาสนาซึ่งมีชื่อว่า "มหานิบาตชาดก"

ที่มา :

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ธรรมะในชีวิตประจำวัน (2)

วิธีสร้างบุญบารมี

บุญคือ เครื่องชำระสันดาน ความดีกุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ และกุศลธรรม

บารมีคือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงสุด

“วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ขั้นตอนคือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกว่า “ทาน ศีลภาวนา”

ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญเป็นเบื้องต้นที่สุดได้บุญน้อยที่สุดในการทำบุญทั้ง 3 ขั้นตอน ซึ่งการให้ทานนี้ ไม่ว่าจะทำมาเท่าไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ และการถือศีลนั้นแม้จะถือมากและเคร่งครัดอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้นจึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้บุญบารมีมากที่สุด

ในทุกวันนี้เราส่วนใหญ่รู้จักแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่น การทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ผ้าป่าสละทรัพย์สร้างโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญส่วนการถือศีลที่แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการวิรัติรักษา คือถือศีลกันเป็นส่วนน้อย ฉะนั้น เพื่อความเข้าใจอันดีจึงขอชี้แจงถึงวิธีการสร้างบุญบารมีว่า อย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุดแต่ได้บุญบารมีมากที่สุดเป็นลำดับๆ

ทาน

การทำทานได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่นโดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตนทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใดย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมากกล่าวคือ

องค์ประกอบข้อที่ ๑."วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"

วัตถุทานที่ให้ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

ตัวอย่าง๑ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกรโดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญวัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์



แม้ทำบุญให้ทานไปก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีกหากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมองแต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้นโดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดีเนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย

องค์ประกอบข้อที่ ๒."เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์"


การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภความตระหนี่เหนียวแน่นความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส" และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย เมตตาธรรมของตนอันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตา พรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้นถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น

ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะทานก็จะมีจิตที่โสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทานเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน

(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังมือให้ทานอยู่นั้นเองก็ทำด้วยจิตใจโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น

(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดีเมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานนั้น ๆ

เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้นอยู่ที่จิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญและเนื่องจากเมตตาจิต ที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาบริสุทธิ์ในเบื้องต้น

แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ยิ่ง ๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอีก หากผู้ใดให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยการวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญาโดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่าอันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งที่

ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้นแท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะเป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามวัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของมาแล้วหลายชั่วคน

ซึ่งท่านตั้งแต่ก่อนนั้น ได้ล้มหายตายจากไปแล้วทั้งสิ้นไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลยจนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเราให้เราได้กินได้ใช้ไดยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่น ๆต่อ ๆ ไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย

จึงนับว่าเป็นสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้าอย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลงนับว่าเป็นอนิจจังคือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราได้ถาวรได้ตลอดไปแม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้วก็ต้องอยูในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไปไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างไร

แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้นซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็แก่เฒ่าและตายไปในที่สุดเราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง

เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้วทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วยเจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมากได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วยก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อยเป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ

เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้แต่ก็ยังมีข้ออันควรระวังอยู่ก็คือ "การทำทานนั้นอย่าได้เบียดเบียนตนเอง"เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มาก ๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้เมื่อได้ทำไปแล้วตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลนเพราะว่าไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมองเจตนานั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้นแม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย

องค์ประกอบข้อที่ ๓."เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"


คำว่า"เนื้อนาบุญ"ในที่นี่ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเองนับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุดแม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้วกล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะแต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑กำมือ แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์)

และผู้หว่านคือกสิกรก็มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป้นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์)แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกันเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกันโดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ดีก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้งมีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลยการทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ "บุญ"หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้วผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่าง ๆ ฉะนั้นในการทำทานตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดเราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดีทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย ฉะนั้นคติโบราณที่กล่าวว่า "ทำบุญอย่าถามพระหรือ ตักบาตรอย่าเลือกพระ" เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้เพราะว่าในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสารโดยมุ่งจะทำมรรคผลและนิพพานให้แจ้ง

ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐแต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ "บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหารบวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน" ธรรมวินัยใดๆท่านไม่สนใจเพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกาย ท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้วซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงศีล ๕ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่
 
ศีล


"ศีล"นั้นแปลว่า "ปกติ"คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือศีล๕ ศิล ๘ ศิล ๑๐และศีล ๒๒๗และในบรรดาศีลชนิดเดียวกันก็ยังจัดแบ่งออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)

คำว่า"มนุษย์"นั้นคือผู้ที่มีใจอันประเสริฐคุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง"

ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษย์ธรรม" ส่วนหนึ่งในมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องถึงพร้อมด้วยมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการเป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย) รายละเอียดจะมีประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้



การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจาอันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้นและเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน

ทั้งในการถือศีลด้วยกันเองก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้คือ

๑.การให้อภัยทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๒.การถือศีล๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓.การถือศีล๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาแม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

๔.การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้วรักษาศีล ๑๐ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปีก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาที่มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อแม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

ฉะนั้นในฝ่ายศีลแล้วการที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุดเพราะเป็นเนกขัมบารมีในบารมี ๑๐ ทัศซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง ๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผลนิพพาน ต่อ ๆ ไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมากซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

ภาวนา


การเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น

มี ๒อย่างคือ"สมถภาวนา (การทำสมาธิ)"และ"วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)"แยกอธิบายดังนี้ คือ

๑.สมถภาวนา (การทำสมาธิ)

สมถภาวนาได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิหรือเป็นฌานซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ

วิธีภาวนานั้นมีมากมายหลายร้อยชนิดซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า"กรรมฐาน ๔๐"

ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใดจิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆและการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย

แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อนคือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดปละด่างพร้อยจึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้หากว่าศีลยังไม่มั่นคงย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยากเพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน(เป็นกำลัง)ให้เกิดสมาธิขึ้น

อานิสงส์ของสมาธินั้นมีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้

ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่าวพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปีก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีกช้างกระดิกหู"

คำว่า"จิตสงบ"ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า"ขนิกสมาธิ"คือสมาธิเล็ก ๆน้อย ๆสมาธิแบบเด็กๆที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตำนานพระพุทธชินราช

ตำนานพระพุทธชินราช




เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองโบราณ ก่อนจุลศักราช ๔๐๐ ก่อนพุทธศักราช ๑๕๐๐ เป็นเวลาที่เมืองเชียงแสนรุ่งเรืองมาก และมีอำนาจมากด้วยขณะนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทรงร่ำเรียนคัมภีร์ ในพุทธศาสนาพระวินัยพระสูตร พระปรมัตถเป็นอันมาก ได้คิดสร้างเมืองหนึ่ง เริ่มก่อสร้างกำแพงเมืองในเวลาเช้าวันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉล๔ เบญจศกจุลศักราช ๓๑๕ พระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๑๔๙๖ ซึ่งนับว่าเป็นชะตาของเมืองพิษณุโลก และให้ขนานนามว่า “เมืองพิษณุโลก”

ด้วยพระราชกุศลอันพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกสร้างในเมืองพิษณุโลก คือ ได้จัดการสถาปนาพระมหาธาตุรูปปรางค์ สูงง ๘ ว่า และสร้างพระวิหารทิศทั้ง ๔ มีพระรายล้อมรอบ ๒ ชั้นและทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปสำหรับพระวิหาร

ในกาลนั้นพระองค์ทรางเดชานุภาพครอบงำหริกุญชัย และศรีสัชนาลัย จึงมีพระราชสาส์นไปยังเมืองศรีสัชนาลัยให้นำช่างมาช่วยปั้นปุ่นพระพุทธรูป เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยได้ส่งช่างพราหมณ์ฝีมือมา ๕ นาย คือ บาอินทร บาพรหม บาพิษณุ บาราชสังข บาราชกุศล พระศรีธรรมไตรปิฎกให้ช่างสวรรคโลก สมทบกับช่างเชียงแสนและช่างชาวเมืองหริกุญชัยช่วยกันสร้างหุ่นพระพุทธรูป ๓ พระองค์มีทรวดทรงลักษณะสัณฐานคล้ายกัน พระพุทธชินราชหน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ๕ นิ้วมีเศษ พระพุทธชินสีห์ หน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว พระพุทธศาสดา หน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๖ นิ้ว คนทั้งปวงเห็นพร้อมกันว่าพระพุทธรูปทั้งสามพระองค์มีคุณลักษณะงามดีหาเสมอมิได้ จึงให้เข้าดินอ่อนดินแก่ชนวนตรึงทวยรัดปลอกแน่นหนาบริบูรณ์เสร็จ ณ วัน ๔ฯ๑๕ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จุลศุกราช ๓๑๗ ได้ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปทั้งสามพระองค์ด้วย เนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณแท้ เมื่อพิมพ์เย็นได้แกะพิมพ์ออก พระพุทธชินสีห์ กับพระพุทธศรีศาสดาบริบูรณ์ดีน้ำท้องแล่นเสมอกัน แต่พระพุทธชินราชทองไม่แล่นบริบูรณ์ นายช่างได้ทำหุ่นใหม่หล่ออีกถึงสามครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ

พระองค์ทรงตั้งจิตอธิฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เอง แล้วรับสั่งให้สมเด็จพระนาง

ปทุมาราชเทวีทรงอธิษฐานด้วยให้สร้างหุ่นพระพุทธชินราชขึ้นใหม่ ครั้งนี้มีชีปะขาวมาช่วยทำการแข็งแรงใครถามอะไรก็ไม่ยอมบอก ครั้นรูปหุ่นสำเร็จพิมพ์แห้งแล้ว กำหนดงานมหามงคลฤกษ์เททอง ณ วันที่ ๔ฯ๘๖ ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๓๑๙ พระพุทธศาสนากาลล่วงหน้า ๑๕๐๐ หย่อนอยู่ ๗ วัน และทำการมงคลพิธีเหมือนครั้งก่อนแล้วเททองแล่นดีบริบูรณ์ส่วนชีปะขาวที่มาช่วยก็ออกจากที่นั่นไป ถึงตำบลหนึ่งก็หายไปจึงเรียกตำบลนั้นว่า “ปะขาวหาย” พระองค์ทรงโปรดให้ช่างแต่งองค์พระพุทธรูปให้เกลี้ยงเกลา อัญเชิญพระพุทธชินราชประดิษฐานไว้ ณ วิหารใหญ่ทิศตะวันตก วัดพระมหาธาตุ ผันพระพักตร์ต่อแม่น้ำ พระพุทธชินสีห์สถิตอยู่ทางทิศเหนือ พระพุทธศรีศาสดาอยู่ทางทิศใต้ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันออกทรงปลูกต้นมหาโพธิ์ ๓ ต้น แล้วรับสั่งให้หล่อพระพุทธรูปหน้าตักศอกเศษเอาทองที่เหลือจากหล่อพระพุทธชินราชเรียกว่าพระเหลือรับสั่งให้เอาก้อนอิฐมาทำแท่นชุกชี สูง ๓ ศอก

ตำนานกล่าวว่าพระเจ้ากรุงสยามได้ถวายสักการบูชาพระพุทธปฏิมากรทั้งสามพระองค์นี้สืบต่อมา จุลศักราช ๙๙๓ ปีเถาะ ตรีศก สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนารถ ได้เสด็จขึ้นไปถวายสักการบูชาพระพุทธชินราชดำรัสสั่งให้เอาทองเครื่องราชูปโภคมาแผ่นเป็นทองประทาศี ปิดพระพุทธด้วยพระหัตถ์เสร็จบริบูรณ์ โปรดให้มีงานสมโภช ๗ วัน ๖ คืน

พระพุทธปฏิมากรทั้ง ๓ พระองค์นี้ ตั้งแต่แรกสร้างมาถึงปีที่ตั้งบรมราชวงศ์รัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยานานถึง ๘๒๕ ปี ระหว่างพระพุทธศาสนกาล ๑๕๐๐ ถึง ๒๓๒๕ จุลศักราช ๓๑๙ ถึง ๑๑๔๔ เมืองพิษณุโลกเปลี่ยนเจ้านายบ้าง ร้ายบ้าง ดีบ้าง ลางทีก็เป็นเมืองหลวง ลางทีก็เป็นเมืองขึ้น ถูกข้าศึกโจมตี แต่พระปฏิมากรทั้ง ๓ พระองค์นี้หาเป็นอันตรายไม่เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่พุทธศาสนิกชนเป็นอย่างยิ่ง

ครั้งเมื่อจุลศักราช ๑๑๙๑ ปีฉลู เอกศก กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์รับสั่งให้อาราธนาพระพุทธชินสีห์ ล่องแพมายังกรุงเทพฯ อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่มุขด้านตะวันตกพระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นใหม่ แต่ยังไม่ทันเสร็จก็สวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงย้ายมาไว้ที่มุขด้านตะวันออกทรงกาไหล่พระรัศมีฝังพระเนตร ฝังเพชรพระอุณาโลม ปิดทองใหม่ทั้งองค์ เมื่อเถลิงราชสมบัติแล้วจึงทรงทำกาบทองลองยาหุ้มพระรัศมีเป็นน้ำหนักทองหนึ่งชั่งสิบตำลึง หล่อฐานใหม่ทรงโปรดให้มีงานฉลอง





แหล่งที่มา :

วิชัย คล้ายหอม และคณะ. 2538. ตำนานพระพุทธชินราช. วารสารจาตุระสมาคม.

โรงพิมพ์มิตรสยาม กรุงเทพฯ หน้า ๓๗ – ๓๘.

ตำนานพระแก้วมรกต

ตำนานพระแก้วมรกต




ปางเมื่อสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานล่วงแล้ว ๕๐๐ พรรษา ณ อโศการาม ในแคว้นเมืองปาฎลีบุตรพระอรหันต์รูปหนึ่งทรงพระนามว่าพระนาคเสนเถระ อันมีฤทธิ์สำเร็จด้วยอภิญญาสามารถรอบรู้พระไตรปิฏกอรรถธรามต่าง ๆ ตลอดจนแก้ปัญหานานาประการ ปรารถนาจะสร้างพระพุทธรูปบูชาไว้เป็นสักการะแก่เทพยดา และมวลมนุษย์แต่ยังเป็นว่ามนุษย์ยังประกอบด้วย อคติ โกรธ โลภ หลงอยู่ การที่จะสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ และเงินยวงนั้นก็เกรงว่าพรวกมิจฉาทิฎฐิจะนำไปทำลายเสียคงจะมิถาวรยั่งยืนไปถึง ๕๐๐ ปี จึงทรงจะปรารถนาสร้างด้วยแก้ว

ในกาลครั้งนี้ ด้วยทิพย์จักษุทิพย์โสตแห่งองค์สมเด็จพระอมรินทราธิราชรู้ว่าพระนาคเสนเถระเจ้ามีความปรารถนาจะสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วอันประเสริฐ ไว้เป็นสักการะแก่เทพยดา และมวลมนุษย์จึงทรงรับอุปัฎฐากให้สำเร็จสมดังความตั้งใจได้เสด็จไปสถาบรรพตพร้อมด้วยพระวิษณุกรรมเพื่อขอแก้วรัตนโสภณต่ออสูรกุมภัณฑ์ยักษ์ที่พิทักษ์อยู่ได้แก้วมรกตดวงหนึ่งมีพรรณรังสีรัศมีงามเลิศเทียมแก้วโลกาทิพย์รัตนนายกแก้วมรกตนี้มีบริวาร ๑,๐๐๐ ดวง มีสีเขียสสถิตอยู่ใกล้บริเวณโสภณแก้วมณีโชติสมเด็จพระอมรินทราธิราช จึงมีเทวบัญชาให้พระวิษณุกรรมนำแก้วมรกตสู่อโศการาม กระทำแก้วมรกตให้เป็นพระพุทธรูปปรากฏว่าพระพุทธลักษณะอันงามสมกับเป็นปฐมปฐาปนา พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต อันเป็นที่สักการบูชาของหมู่มวลวานิชแก้วมรกตเปล่งสีออกมารัศมีเป็นสีต่าง ๆ ฉัพพรรณรังสีพวงพุ่งออกจากพระวรกายบรรดาเทพบุตร เทพยดา และท้าวพระยาสามนตราชพระอรหันตขีณาสพและสมณพราหมณ์ตลอดจนประชาราษฎร์พากันแซ่ซร้องถวายสักการบูชาพระนาคเสนเถระจึงตั้งสัตยาธิษฐาน อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระพุทธเจ้าเข้าประดิษฐานในองค์พระพุทธมหารัตนปฏิมากร ๗ พระองค์คือ ในพระโมลี ๑ ในประนลาฎ ๑ ในพระอุระ ๑ ในประอังสาทั้ง ๒ ข้าง ในพระชานุทั้ง ๒ ข้าง ในขณะนั้นแผ่นดินไหวเป็นที่น่าอัศจรรย์ พระนาคเสนเถระได้ทรงเล็งญาณก็ทราบจึงทำนายไว้ว่า พระมหามณีรัตนปฏิมากรจะสถิตในเมืองปาฎลีบุตรมั่นคงช้านานจะทรงเสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์ในเบญจประเทศคือ ลังกาทวีป กัมพูชา ศรีอยุธยา โยนะวิไสยสุวรรณภูมิ ปามะหละวิไสย

พระมหากษัตริย์ ซึ่งครองเมืองปาฎลีบุตรรับปฏิบัติรักษาพระแก้วมรกตจนพุทธศักราชล่วงไป ๘๐๐ ปี ต่อมาพระเจ้สิริกิตติกุมารครองราชย์ย์เกิดจลาจลวุ่นวายเกิดสงครามมิได้ขาดชาวประชาราษฎร์พร้อมใจกันอัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมกับพระธรรมไตรปิฎกลงสำเภาหนีสู่ลังกาทวีปพระแก้วมรกตประทับอยู่ลังกาทวีปนานประมาณ ๒๐๐ ปี

ต่อมากษัตริย์พม่าองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระอนุรุธาราชาธิราช พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๘ รูป จัดเครื่องบรรณาการลงสำเภาเดินทางไปลังกาทวีปเพื่อชำระอักขระพยัญชนะวิบัติพระไตรปิฏกธรรมให้ถูกต้องและทรงตรัสขอพระพุทธมณีรัตน์ปฏิมากรลงสำเภา แต่สำเภาที่บรรทุกพระแก้วมรกตและพระไตรปิฏกถูกพายุพัดเข้าไปในอ่าวกัมพูชา ต่อมาเกิดน้ำท่วมฝนตกห่าใหญ่ในกรุงกัมพูชาอินทปัตถ์ มีพระเถระองค์หนึ่งอัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมด้วยอันเตวาสิกสัทธิวิหาริกออกมาอาศัยอยู่ภูมิประเทศเหนือเมืองอินทปัตถ์

ต่อมาพระเจ้าอติตะราชผู้ครองนครกรุงศรีอยุธยาโบราณ ทรงทราบว่าน้ำท่วมกรุงอินทปัตถ์ทรงพระปริวิตกว่า พระพุทธมณีรัตนปฏิมากรจะเป็นอันตราย พระองค์ทรงสืบเสาะแสวงหาพระแก้วมรกตได้ตามพระราชประสงค์อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในเวชยันต์ปราสาท พระแก้วมรกตสถิตอยู่ในกรุงศรีอยุธยาโบราณนานหลายสมัย

ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชรได้กราบทูลขอพระแก้วมรกตไปประทับอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรชั่วขณะหนึ่ง เมื่อราชบุตรเจริญวัยได้ครองเมืองลพบุรีได้ทูลขอพระแก้วมรกตไปประดิษฐานอยู่ในวิหารเมืองลพบุรีเพียง ๑ ปี กับ ๙ เดือน จำต้องอัญเชิญกลับเมืองกำแพงเพชร

ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๐ เจ้าเมืองเชียงรายหวังจะเอาพระแก้วมรกตซ่อนศัตรู จึงเอาปูนทาลงรักปิดทองบรรจุไว้ในสถูปต่อมาพระสถูปถูกอสนีบาตฟาดพังลงมาชาวเมืองเห็นเป็นปูนพอกทึบทั้งองค์ สำคัญว่าเป็นพระพุทธรูปสามัญจึงอัญเชิญไว้ในวิหารแห่งหนึ่ง และต่อมาปูนกะเทาะเห็นเป็นแก้วสีเขียวงามตรงปลายนาสิก เจ้าอธิการวัด จึงได้กะเทาะเอาปูนออกทั้งองค์จึงทราบว่าพระพุทธรูปสร้างด้วยมรกตทั้งแท่ง ราษฎรพากันมานมัสการมากมาย ทราบพึงพระเจ้าสามฝั่งแกนเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงได้จัดขบวนรับเสด็จพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรขึ้น หลังช้างแห่งมาตลอดทาง แต่พอถึงทางแยกไปเมืองลำปาง ช้างที่รับเสด็จพระแก้วมรกตก็วิ่งเตลิดไปทางลำปาง เจ้าเมืองลำปางทรงเลื่อมใสในพระแก้วมรกตอยู่แล้วจึงอัญเชิญประดิษฐานอยู่ที่เมืองลำปาง นานถึง ๓๒ ปี

ครั้น พ.ศ. ๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราชได้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญมายังนครเชียงใหม่ และพยายามสร้างวิหารให้มียอดเป็นปราสาท แต่ก็ถูกอสนีบาตตกลงมาฟาดเสียทุกครั้ง จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานในวิหารซุ้มจรณัม พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่นครเชียงใหม่นานถึง ๘๔ ปี

ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาอัญเชิญมาประทับอยู่ในเมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี ต่อมาได้ประดิษฐานอยู่ในปราสาทนครเวียงจันทร์ นานถึง ๒๑๔ ปี ครั้งถึง พ.ศ. ๒๓๒๑ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรกับพระบางขึ้นคานหามมายับยั้งที่เมืองสระบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทราบทรงเลื่อมใสศรัทธาปสาทะ จึงได้ราชบุตรอาธาธนาพระสังฆราช และพระราชาคณะฐานานุกรมเปรียญ และจัดกำลังเรือพร้อมฝีพายขึ้นไปรับพระแก้วมรกตลงมายังกรุงธนบุรีและมีการสมโภชตลอด ๗ วัน

ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเถลิงราชสมบัติให้รัตนาไชศวรรย์ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ โปรดให้สร้างพระอารามให้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ครั้นพระอุโบสถเสร็จ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงจัดเครื่องถวายสำหรับฤดูร้อนอย่างหนึ่ง และฤดูหนาวอย่างหนึ่ง ฤดูฝนอีกอย่างหนึ่ง และถือเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้





แหล่งที่มา :

วิชัย คล้ายหอม และคณะ. 2538. ตำนานพระแก้วมรกต. วารสารจาตุระสมาคม.

โรงพิมพ์มิตรสยาม กรุงเทพฯ หน้า ๓๖ – ๓๗.

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันอาทิตย์)

สำหรับผู้ที่เกิดวันอาทิตย์


พระปางถวายเนตร

เกิดวันอาทิตย์ บูชาพระปางถวายเนตร



ประวัติย่อ

พระปางถวายเนตร

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์ เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงเสด็จออกจากภายใต้ร่มโพธิ์ประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)ทอดพระเนตรต้นมหาโพธิ์ โดยไม่กะพริบพระเนตรเป็นเวลา 7 วัน เพื่อรำพึงถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ทีแผ่กิ่งก้านประทานร่มเงาให้ความชุ่มเย็นเป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

บทสวดบูชาประจำวันอาทิตย์

สวด 6 จบ

(สวดกลางวัน)

อุเทตะยัญจุกขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง พรหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุต ตานัง นะโม วิมุตตะยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร จะระติ เอสะนา

(สวดกลางคืน)

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมิสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รุตติง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม มะโม เต จะ มัง ปาละยันตะ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิบา นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร วาสะมะ กัปปะยีติ

สวดวันละ 6 จบ จะมีความเจริญรุ่งเรือง และความสุขสวัสดีตลอดกาล

ผู้เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเป็นเครื่องนุ่งห่มประดับบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นเป็นของสีแดงจะเป็นสิริมงคล เกิดลาภผลดียิ่งนัก ส่วนสีรอง ๆ ลงไปมีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันจันทร์)

สำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์

พระปางห้ามพยาธิ

เกิดวันจันทร์ บูชาพระปางาห้ามพยาธิ



ประวัติย่อ

พระปางห้ามพยาธิ

ครั้งหนึ่งได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวีเจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์เจริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็ได้หายสิ้นไปจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ



บทสวดบูชาประจำวันจันทร์

สวด 15 จบ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

สวดวันละ 15 จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป



ผู้เกิดวันจันทร์ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีขาว เหลืองอ่อน ๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีเขียว สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีน้ำเงิน พึงเว้น สีแดง



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.





เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น