วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตำนานพระพุทธชินราช

ตำนานพระพุทธชินราช




เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองโบราณ ก่อนจุลศักราช ๔๐๐ ก่อนพุทธศักราช ๑๕๐๐ เป็นเวลาที่เมืองเชียงแสนรุ่งเรืองมาก และมีอำนาจมากด้วยขณะนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทรงร่ำเรียนคัมภีร์ ในพุทธศาสนาพระวินัยพระสูตร พระปรมัตถเป็นอันมาก ได้คิดสร้างเมืองหนึ่ง เริ่มก่อสร้างกำแพงเมืองในเวลาเช้าวันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉล๔ เบญจศกจุลศักราช ๓๑๕ พระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๑๔๙๖ ซึ่งนับว่าเป็นชะตาของเมืองพิษณุโลก และให้ขนานนามว่า “เมืองพิษณุโลก”

ด้วยพระราชกุศลอันพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกสร้างในเมืองพิษณุโลก คือ ได้จัดการสถาปนาพระมหาธาตุรูปปรางค์ สูงง ๘ ว่า และสร้างพระวิหารทิศทั้ง ๔ มีพระรายล้อมรอบ ๒ ชั้นและทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปสำหรับพระวิหาร

ในกาลนั้นพระองค์ทรางเดชานุภาพครอบงำหริกุญชัย และศรีสัชนาลัย จึงมีพระราชสาส์นไปยังเมืองศรีสัชนาลัยให้นำช่างมาช่วยปั้นปุ่นพระพุทธรูป เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยได้ส่งช่างพราหมณ์ฝีมือมา ๕ นาย คือ บาอินทร บาพรหม บาพิษณุ บาราชสังข บาราชกุศล พระศรีธรรมไตรปิฎกให้ช่างสวรรคโลก สมทบกับช่างเชียงแสนและช่างชาวเมืองหริกุญชัยช่วยกันสร้างหุ่นพระพุทธรูป ๓ พระองค์มีทรวดทรงลักษณะสัณฐานคล้ายกัน พระพุทธชินราชหน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ๕ นิ้วมีเศษ พระพุทธชินสีห์ หน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว พระพุทธศาสดา หน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๖ นิ้ว คนทั้งปวงเห็นพร้อมกันว่าพระพุทธรูปทั้งสามพระองค์มีคุณลักษณะงามดีหาเสมอมิได้ จึงให้เข้าดินอ่อนดินแก่ชนวนตรึงทวยรัดปลอกแน่นหนาบริบูรณ์เสร็จ ณ วัน ๔ฯ๑๕ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จุลศุกราช ๓๑๗ ได้ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปทั้งสามพระองค์ด้วย เนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณแท้ เมื่อพิมพ์เย็นได้แกะพิมพ์ออก พระพุทธชินสีห์ กับพระพุทธศรีศาสดาบริบูรณ์ดีน้ำท้องแล่นเสมอกัน แต่พระพุทธชินราชทองไม่แล่นบริบูรณ์ นายช่างได้ทำหุ่นใหม่หล่ออีกถึงสามครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ

พระองค์ทรงตั้งจิตอธิฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เอง แล้วรับสั่งให้สมเด็จพระนาง

ปทุมาราชเทวีทรงอธิษฐานด้วยให้สร้างหุ่นพระพุทธชินราชขึ้นใหม่ ครั้งนี้มีชีปะขาวมาช่วยทำการแข็งแรงใครถามอะไรก็ไม่ยอมบอก ครั้นรูปหุ่นสำเร็จพิมพ์แห้งแล้ว กำหนดงานมหามงคลฤกษ์เททอง ณ วันที่ ๔ฯ๘๖ ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๓๑๙ พระพุทธศาสนากาลล่วงหน้า ๑๕๐๐ หย่อนอยู่ ๗ วัน และทำการมงคลพิธีเหมือนครั้งก่อนแล้วเททองแล่นดีบริบูรณ์ส่วนชีปะขาวที่มาช่วยก็ออกจากที่นั่นไป ถึงตำบลหนึ่งก็หายไปจึงเรียกตำบลนั้นว่า “ปะขาวหาย” พระองค์ทรงโปรดให้ช่างแต่งองค์พระพุทธรูปให้เกลี้ยงเกลา อัญเชิญพระพุทธชินราชประดิษฐานไว้ ณ วิหารใหญ่ทิศตะวันตก วัดพระมหาธาตุ ผันพระพักตร์ต่อแม่น้ำ พระพุทธชินสีห์สถิตอยู่ทางทิศเหนือ พระพุทธศรีศาสดาอยู่ทางทิศใต้ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันออกทรงปลูกต้นมหาโพธิ์ ๓ ต้น แล้วรับสั่งให้หล่อพระพุทธรูปหน้าตักศอกเศษเอาทองที่เหลือจากหล่อพระพุทธชินราชเรียกว่าพระเหลือรับสั่งให้เอาก้อนอิฐมาทำแท่นชุกชี สูง ๓ ศอก

ตำนานกล่าวว่าพระเจ้ากรุงสยามได้ถวายสักการบูชาพระพุทธปฏิมากรทั้งสามพระองค์นี้สืบต่อมา จุลศักราช ๙๙๓ ปีเถาะ ตรีศก สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนารถ ได้เสด็จขึ้นไปถวายสักการบูชาพระพุทธชินราชดำรัสสั่งให้เอาทองเครื่องราชูปโภคมาแผ่นเป็นทองประทาศี ปิดพระพุทธด้วยพระหัตถ์เสร็จบริบูรณ์ โปรดให้มีงานสมโภช ๗ วัน ๖ คืน

พระพุทธปฏิมากรทั้ง ๓ พระองค์นี้ ตั้งแต่แรกสร้างมาถึงปีที่ตั้งบรมราชวงศ์รัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยานานถึง ๘๒๕ ปี ระหว่างพระพุทธศาสนกาล ๑๕๐๐ ถึง ๒๓๒๕ จุลศักราช ๓๑๙ ถึง ๑๑๔๔ เมืองพิษณุโลกเปลี่ยนเจ้านายบ้าง ร้ายบ้าง ดีบ้าง ลางทีก็เป็นเมืองหลวง ลางทีก็เป็นเมืองขึ้น ถูกข้าศึกโจมตี แต่พระปฏิมากรทั้ง ๓ พระองค์นี้หาเป็นอันตรายไม่เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่พุทธศาสนิกชนเป็นอย่างยิ่ง

ครั้งเมื่อจุลศักราช ๑๑๙๑ ปีฉลู เอกศก กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์รับสั่งให้อาราธนาพระพุทธชินสีห์ ล่องแพมายังกรุงเทพฯ อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่มุขด้านตะวันตกพระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นใหม่ แต่ยังไม่ทันเสร็จก็สวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงย้ายมาไว้ที่มุขด้านตะวันออกทรงกาไหล่พระรัศมีฝังพระเนตร ฝังเพชรพระอุณาโลม ปิดทองใหม่ทั้งองค์ เมื่อเถลิงราชสมบัติแล้วจึงทรงทำกาบทองลองยาหุ้มพระรัศมีเป็นน้ำหนักทองหนึ่งชั่งสิบตำลึง หล่อฐานใหม่ทรงโปรดให้มีงานฉลอง





แหล่งที่มา :

วิชัย คล้ายหอม และคณะ. 2538. ตำนานพระพุทธชินราช. วารสารจาตุระสมาคม.

โรงพิมพ์มิตรสยาม กรุงเทพฯ หน้า ๓๗ – ๓๘.

ตำนานพระแก้วมรกต

ตำนานพระแก้วมรกต




ปางเมื่อสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานล่วงแล้ว ๕๐๐ พรรษา ณ อโศการาม ในแคว้นเมืองปาฎลีบุตรพระอรหันต์รูปหนึ่งทรงพระนามว่าพระนาคเสนเถระ อันมีฤทธิ์สำเร็จด้วยอภิญญาสามารถรอบรู้พระไตรปิฏกอรรถธรามต่าง ๆ ตลอดจนแก้ปัญหานานาประการ ปรารถนาจะสร้างพระพุทธรูปบูชาไว้เป็นสักการะแก่เทพยดา และมวลมนุษย์แต่ยังเป็นว่ามนุษย์ยังประกอบด้วย อคติ โกรธ โลภ หลงอยู่ การที่จะสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ และเงินยวงนั้นก็เกรงว่าพรวกมิจฉาทิฎฐิจะนำไปทำลายเสียคงจะมิถาวรยั่งยืนไปถึง ๕๐๐ ปี จึงทรงจะปรารถนาสร้างด้วยแก้ว

ในกาลครั้งนี้ ด้วยทิพย์จักษุทิพย์โสตแห่งองค์สมเด็จพระอมรินทราธิราชรู้ว่าพระนาคเสนเถระเจ้ามีความปรารถนาจะสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วอันประเสริฐ ไว้เป็นสักการะแก่เทพยดา และมวลมนุษย์จึงทรงรับอุปัฎฐากให้สำเร็จสมดังความตั้งใจได้เสด็จไปสถาบรรพตพร้อมด้วยพระวิษณุกรรมเพื่อขอแก้วรัตนโสภณต่ออสูรกุมภัณฑ์ยักษ์ที่พิทักษ์อยู่ได้แก้วมรกตดวงหนึ่งมีพรรณรังสีรัศมีงามเลิศเทียมแก้วโลกาทิพย์รัตนนายกแก้วมรกตนี้มีบริวาร ๑,๐๐๐ ดวง มีสีเขียสสถิตอยู่ใกล้บริเวณโสภณแก้วมณีโชติสมเด็จพระอมรินทราธิราช จึงมีเทวบัญชาให้พระวิษณุกรรมนำแก้วมรกตสู่อโศการาม กระทำแก้วมรกตให้เป็นพระพุทธรูปปรากฏว่าพระพุทธลักษณะอันงามสมกับเป็นปฐมปฐาปนา พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต อันเป็นที่สักการบูชาของหมู่มวลวานิชแก้วมรกตเปล่งสีออกมารัศมีเป็นสีต่าง ๆ ฉัพพรรณรังสีพวงพุ่งออกจากพระวรกายบรรดาเทพบุตร เทพยดา และท้าวพระยาสามนตราชพระอรหันตขีณาสพและสมณพราหมณ์ตลอดจนประชาราษฎร์พากันแซ่ซร้องถวายสักการบูชาพระนาคเสนเถระจึงตั้งสัตยาธิษฐาน อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระพุทธเจ้าเข้าประดิษฐานในองค์พระพุทธมหารัตนปฏิมากร ๗ พระองค์คือ ในพระโมลี ๑ ในประนลาฎ ๑ ในพระอุระ ๑ ในประอังสาทั้ง ๒ ข้าง ในพระชานุทั้ง ๒ ข้าง ในขณะนั้นแผ่นดินไหวเป็นที่น่าอัศจรรย์ พระนาคเสนเถระได้ทรงเล็งญาณก็ทราบจึงทำนายไว้ว่า พระมหามณีรัตนปฏิมากรจะสถิตในเมืองปาฎลีบุตรมั่นคงช้านานจะทรงเสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์ในเบญจประเทศคือ ลังกาทวีป กัมพูชา ศรีอยุธยา โยนะวิไสยสุวรรณภูมิ ปามะหละวิไสย

พระมหากษัตริย์ ซึ่งครองเมืองปาฎลีบุตรรับปฏิบัติรักษาพระแก้วมรกตจนพุทธศักราชล่วงไป ๘๐๐ ปี ต่อมาพระเจ้สิริกิตติกุมารครองราชย์ย์เกิดจลาจลวุ่นวายเกิดสงครามมิได้ขาดชาวประชาราษฎร์พร้อมใจกันอัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมกับพระธรรมไตรปิฎกลงสำเภาหนีสู่ลังกาทวีปพระแก้วมรกตประทับอยู่ลังกาทวีปนานประมาณ ๒๐๐ ปี

ต่อมากษัตริย์พม่าองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระอนุรุธาราชาธิราช พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๘ รูป จัดเครื่องบรรณาการลงสำเภาเดินทางไปลังกาทวีปเพื่อชำระอักขระพยัญชนะวิบัติพระไตรปิฏกธรรมให้ถูกต้องและทรงตรัสขอพระพุทธมณีรัตน์ปฏิมากรลงสำเภา แต่สำเภาที่บรรทุกพระแก้วมรกตและพระไตรปิฏกถูกพายุพัดเข้าไปในอ่าวกัมพูชา ต่อมาเกิดน้ำท่วมฝนตกห่าใหญ่ในกรุงกัมพูชาอินทปัตถ์ มีพระเถระองค์หนึ่งอัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมด้วยอันเตวาสิกสัทธิวิหาริกออกมาอาศัยอยู่ภูมิประเทศเหนือเมืองอินทปัตถ์

ต่อมาพระเจ้าอติตะราชผู้ครองนครกรุงศรีอยุธยาโบราณ ทรงทราบว่าน้ำท่วมกรุงอินทปัตถ์ทรงพระปริวิตกว่า พระพุทธมณีรัตนปฏิมากรจะเป็นอันตราย พระองค์ทรงสืบเสาะแสวงหาพระแก้วมรกตได้ตามพระราชประสงค์อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในเวชยันต์ปราสาท พระแก้วมรกตสถิตอยู่ในกรุงศรีอยุธยาโบราณนานหลายสมัย

ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชรได้กราบทูลขอพระแก้วมรกตไปประทับอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชรชั่วขณะหนึ่ง เมื่อราชบุตรเจริญวัยได้ครองเมืองลพบุรีได้ทูลขอพระแก้วมรกตไปประดิษฐานอยู่ในวิหารเมืองลพบุรีเพียง ๑ ปี กับ ๙ เดือน จำต้องอัญเชิญกลับเมืองกำแพงเพชร

ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๐ เจ้าเมืองเชียงรายหวังจะเอาพระแก้วมรกตซ่อนศัตรู จึงเอาปูนทาลงรักปิดทองบรรจุไว้ในสถูปต่อมาพระสถูปถูกอสนีบาตฟาดพังลงมาชาวเมืองเห็นเป็นปูนพอกทึบทั้งองค์ สำคัญว่าเป็นพระพุทธรูปสามัญจึงอัญเชิญไว้ในวิหารแห่งหนึ่ง และต่อมาปูนกะเทาะเห็นเป็นแก้วสีเขียวงามตรงปลายนาสิก เจ้าอธิการวัด จึงได้กะเทาะเอาปูนออกทั้งองค์จึงทราบว่าพระพุทธรูปสร้างด้วยมรกตทั้งแท่ง ราษฎรพากันมานมัสการมากมาย ทราบพึงพระเจ้าสามฝั่งแกนเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงได้จัดขบวนรับเสด็จพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรขึ้น หลังช้างแห่งมาตลอดทาง แต่พอถึงทางแยกไปเมืองลำปาง ช้างที่รับเสด็จพระแก้วมรกตก็วิ่งเตลิดไปทางลำปาง เจ้าเมืองลำปางทรงเลื่อมใสในพระแก้วมรกตอยู่แล้วจึงอัญเชิญประดิษฐานอยู่ที่เมืองลำปาง นานถึง ๓๒ ปี

ครั้น พ.ศ. ๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราชได้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญมายังนครเชียงใหม่ และพยายามสร้างวิหารให้มียอดเป็นปราสาท แต่ก็ถูกอสนีบาตตกลงมาฟาดเสียทุกครั้ง จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานในวิหารซุ้มจรณัม พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่นครเชียงใหม่นานถึง ๘๔ ปี

ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาอัญเชิญมาประทับอยู่ในเมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี ต่อมาได้ประดิษฐานอยู่ในปราสาทนครเวียงจันทร์ นานถึง ๒๑๔ ปี ครั้งถึง พ.ศ. ๒๓๒๑ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรกับพระบางขึ้นคานหามมายับยั้งที่เมืองสระบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทราบทรงเลื่อมใสศรัทธาปสาทะ จึงได้ราชบุตรอาธาธนาพระสังฆราช และพระราชาคณะฐานานุกรมเปรียญ และจัดกำลังเรือพร้อมฝีพายขึ้นไปรับพระแก้วมรกตลงมายังกรุงธนบุรีและมีการสมโภชตลอด ๗ วัน

ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเถลิงราชสมบัติให้รัตนาไชศวรรย์ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ โปรดให้สร้างพระอารามให้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ครั้นพระอุโบสถเสร็จ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงจัดเครื่องถวายสำหรับฤดูร้อนอย่างหนึ่ง และฤดูหนาวอย่างหนึ่ง ฤดูฝนอีกอย่างหนึ่ง และถือเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้





แหล่งที่มา :

วิชัย คล้ายหอม และคณะ. 2538. ตำนานพระแก้วมรกต. วารสารจาตุระสมาคม.

โรงพิมพ์มิตรสยาม กรุงเทพฯ หน้า ๓๖ – ๓๗.

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันอาทิตย์)

สำหรับผู้ที่เกิดวันอาทิตย์


พระปางถวายเนตร

เกิดวันอาทิตย์ บูชาพระปางถวายเนตร



ประวัติย่อ

พระปางถวายเนตร

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์ เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงเสด็จออกจากภายใต้ร่มโพธิ์ประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)ทอดพระเนตรต้นมหาโพธิ์ โดยไม่กะพริบพระเนตรเป็นเวลา 7 วัน เพื่อรำพึงถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ทีแผ่กิ่งก้านประทานร่มเงาให้ความชุ่มเย็นเป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

บทสวดบูชาประจำวันอาทิตย์

สวด 6 จบ

(สวดกลางวัน)

อุเทตะยัญจุกขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง พรหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุต ตานัง นะโม วิมุตตะยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร จะระติ เอสะนา

(สวดกลางคืน)

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมิสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รุตติง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม มะโม เต จะ มัง ปาละยันตะ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิบา นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม อิมัง โส ปะริตตัง กัตะวา โมโร วาสะมะ กัปปะยีติ

สวดวันละ 6 จบ จะมีความเจริญรุ่งเรือง และความสุขสวัสดีตลอดกาล

ผู้เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเป็นเครื่องนุ่งห่มประดับบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นเป็นของสีแดงจะเป็นสิริมงคล เกิดลาภผลดียิ่งนัก ส่วนสีรอง ๆ ลงไปมีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันจันทร์)

สำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์

พระปางห้ามพยาธิ

เกิดวันจันทร์ บูชาพระปางาห้ามพยาธิ



ประวัติย่อ

พระปางห้ามพยาธิ

ครั้งหนึ่งได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวีเจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์เจริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็ได้หายสิ้นไปจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ



บทสวดบูชาประจำวันจันทร์

สวด 15 จบ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

สวดวันละ 15 จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป



ผู้เกิดวันจันทร์ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีขาว เหลืองอ่อน ๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีเขียว สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีน้ำเงิน พึงเว้น สีแดง



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.





เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันอังคาร)

สำหรับผู้ทีเกิดวันอังคาร

พระปางไสยาหรือปางโปรดอนุรินทราหู

เกิดวันอังคาร บูชาพระปางไสยา หรือปางโปรดอสุรินทราหู



ประวัติย่อ

พระปางไสยา

หรือปางโปรดอสุรินทราหู

สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหู จอมอสูรซึ่งสำคัญว่ามีร่างโตใหญ่กว่าพระพุทธาเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงหวังจะลดทิฐิจอมอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้โตกว่าจอมอสูรในท่าประทับนอน และแสดงธรรมโปรดจนในที่สุดจอมอสูรจึงละทิฐิยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์



บทสวดบูชาประจำวันอังคาร

สวด 8 จบ

ยัสสานุพาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง

ยัมหิ เจวานุยุญชัญโต รัตตินทิวะมะตันทิโต

สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ

เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห

สวดวันละ 8 จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน

ผู้เกิดวันอังคารควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีชมพู หรือสีแดงหลัว ส่วนสีรอง ๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดง พึงเว้น สีขาวนวล



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.









เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันพุธ-กลางคืน)

สำหรับผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน
บทสวดบูชาประจำวันราหู

(วันพุธกลางคืน)

สวดกลางวัน

กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสะ

สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฎฐะสีติ

สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ

พุทธะคาถา ภิคึโตมหิ โน เจ มุญรเจยยะ สุริยันติ

สวดวันละ 12 จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดีฯ

สวดกลางคืน

กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ

สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วิ ติฎฐะสีติ

สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ

พุทธะคาถาภีคีโตมหิ โน เจมุญเจยยะ จันทิมันติ

สวดคืนละ 12 จบ จะมีความสุขเจริญสุขสวัสดี ฯ

คนเกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืนนี้ ควรใช้เครื่องประดับตัวหรือบ้านเรือนเป็นสีเมฆหมอก สีเทา หรือสีดำหลัว ส่วนสีรองลงมาคือ สีแดง สีขาวนวล สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่

พึงเว้น สีเหลือง

แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันพุธ)

สำหรับผู้เกิดวันพุธ

พระปางอุ้มบาตร

เกิดวันพุธ บูชาพระปางอุ้มบาตร

ประวัติย่อ

พระปางอุ้มบาตร

ครั้งหนึ่ง หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเวสสันดรชาดก โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติทั้งหลายบรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่นโสมนัสจนลืมกราบทูลอาราธนา พระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระราชวัง ดังนั้นในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จออกรับบิณฑบาตจากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสดุ์



บทสวดบูชาประจำวันพุธ

สวด 17 จบ

สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ

ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง

อาณักเขตตัมหิ สัพพัมถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง

สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห

สวดวันละ 17 จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป

ผู้เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัว หรือบ้านเรือนเป็นสีเขียวหรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันพฤหัสบดี)

สำหรับผู้เกิดวันพฤหัสบดี

พระปางสมาธิ

เกิดวันพฤหัสบดี บูชาพระปางสมาธิ



ประวัติย่อ

พระปางสมาธิ



ภายหลังจากที่พระมหาบุรุษได้กำราบพระยามารลงได้แล้ว พระองค์จึงได้ตั้งพระทัยเจริญสมาธิจนได้บรรลุญาณขั้นต่าง ๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา)



บทสวดบูชาประจำวันพฤหัสบดี

สวด 19 จบ

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง

เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา

รัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สิกขิงสุ คัณหิตุง

พรัหมะมันตันติ อักขาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห

สวดวันที่ 19 จบ จะมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป



ผู้เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไพล ส่วนสีรองลงมาคือสีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สีกรมท่า และสีน้ำเงินแก่



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันศุกร์)

สำหรับผู้เกิดวันศุกร์

พระปางรำพึง

เกิดวันศุกร์ บูชาพระปางรำพึง



ประวัติย่อ

พระปางรำพึง

ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนิโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัย ในการที่จะนำออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์ มีภูมิต่างกันจึงทรงพระดำริที่จะแสดงธรรมตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้น ๆ



บทสวดบูชาประจำวันศุกร์

สวด 21 จบ

อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต

อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะ การิภิ

ปะริสานัญจะ ตัสสันนะ มะหิงสายะ จะ คุตติยา

ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห

สวดวันละ 21 จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนานฯ



ผู้เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับตัวหรือบ้านเรือนเป็นสีฟ้า หรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรอง ๆ ลงมาคือ สีขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้น สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.







เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

บทสวดมนต์ประจำวัน (วันเสาร์)

สำหรับผู้เกิดวันเสาร์

พระปางนาคปรก

เกิดวันเสาร์ บูชาพระปางนาคปรก



ประวัติย่อ

พระปางนาคปรก

ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับเสวยวิมุติสุขอยุ่ในตันจิก (มุจจรินทร์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกหนักตลอด 7 วัน พระยานาคมุจจรินทร์ ได้เลื้อยมาทำขนดล้อมพระวรกายของพระพุทธองค์ 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานปากไว้ในเบื้องตนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย

บทสวดบูชาประจำวันเสาร์

สวด 10 จบ

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจ จะ ปาณัง โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

สวดวันละ 10 จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน

ผู้เกิดวันเสาร์ พึงใช้เครื่องประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีดำ สีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองลงมาคือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้น สีเขียว



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

พระพุทธรูปประจำวันเกิด

พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด




                                      อาทิตย์ถวายเนตร                    จันทร์ห้ามพระญาติดี

                                      อังคารไสยาสน์ศรี                    พุธอุ้มบาตรคุณานันตี

                                      พฤหัสบดีสมาธิ                        ศุกร์ทรงรำพึงพรรณ

                                      เสาร์นาคปรกสรรพ                   สวัสดิมงคล



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. พระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์

ถนนจรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 52-68.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

มงคลชีวิต



ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ


มงคลชีวิต




อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน

อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา

อย่าเสวนาคนชั่ว อย่ามั่วอบายมุข

อย่าสุกก่อนห่าม อย่าพล่ามก่อนทำ

อย่ารำก่อนเพลง อย่าข่มเหงผู้น้อย

อย่าคอยแต่ประจบ อย่าคบแต่เศรษฐี

อย่าดีแต่ตัว อย่าชั่วแต่คนอื่น

อย่าฝ่าฝืนกฎระเบียบ อย่าเอาเปรียบสังคม

อย่าชื่นชมคนผิด อย่าคิดเอาแต่ได้

อย่าใส่ร้ายคนดี อย่ากล่าววจีมุสา

อย่านินทาพระเจ้า อย่าขลาดเขลาเมื่อมีทุกข์

อย่าสุขจนลืมตัว อย่าเกรงกลัวงานหนัก

อย่าพิทักษ์พาลชน อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี



พุทธดำรัส



“อันใดเดือนร้อนเขา สบายเรา อย่าทำ

อันใดเดือดร้อนเรา สบายเขา อย่าทำ

อันใดเดือดร้อนเขา เดือดร้อนเรา ก็อย่าทำ

อันใดไม่เดือดร้อนเขา ไม่เดือดร้อนเรา จงพูด

จงคิด และ กระทำเถิด”



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. มงคลชีวิต. วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์ ถนนจรัลสนิทวงศ์

กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 51.





เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

เหตุที่จิตไม่เป็นสมาธิมีอยู่ ๗ ประการ





เหตุที่จิตไม่เป็นสมาธิมีอยู่  ๗  ประการ 


๑. นั่งไม่ถูกวิธี


๒. จิตเป็นกังวล กังวลเรื่องงาน

๓. เหนื่อยมาก ไปทำงานมาเหนื่อยเหลือเกิน จิตท่านจะไม่เป็นสมาธิ แต่หายเหนื่อยเมื่อยล้าเมื่อไรก็ตั้งสติให้ได้แก่นได้

๔. ป่วย อาพาธหนัก จิตท่านจะไม่เป็นสมาธิ ท่านจะอุปาทานนึกถึงเวทนา ปวดโน้น เมื่อยนี้ ปวดหนอ ปวดเรื่อย อะไรทำนองนี้ จิตท่านจะขาดสมาธิทันที ถ้าไม่ฝึกปฏิบัติ ท่านจะไม่มีสมาธิเลย

๕. ราคะเกิด ขณะนั้นจิตท่านจะหายไป สมาธิจะไม่เกิด

๖. โทสะเกิด ท่านไม่สามารถแก้ไขโทสะได้ ไม่สามารถจะตั้งสติไว้ได้ สมาธิหนีไปหมด ท่านจะทำอะไรเสีย ขาดสมาธิ เพราะมีโทสะ โทสะสิงสถิตอยู่ในจิตใจของท่าน ปัญญาไม่เกิด แล้วท่านจะไม่มีสมาธิปฏิบัติอีก ๒๐ ปี ก็ไม่ได้ผล ไม่ได้อานิสงส์แต่ประการใด

๗. อารมณ์มากระทบอารมณ์เกิดกระทบสัมผัสเกิดอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดสัมผัสมากระทบอารมณ์จึงเสีย จิตไม่เป็นสมาธิ ไหนเลยท่านจะมีสมาธิ อวดอาตมาว่ามีสมาธิแล้ว ไม่จริง นั่งหลับตาก็ไม่รู้ว่าคนนี้สมถะหรือวิปัสสนา นั่งหลับตาอยู่ จิตออกไปโน้นไปเชียงใหม่โน่น จิตโน่นไปห่วงผัว กลัวผัวจะไปมีเมียใหม่ อะไรทำนองนี้ รับรองอีกร้อยปีท่านจะไม่ได้อะไร จิตเกิดโทสะ ถ้าท่านไม่ระงับโทสะก่อน สมาธิก็ไม่เกิดแน่นอน ขาดการกำหนดจิตจะขาดสติขาดปัญญา ไหนเลยสมาธิจะเกิดขึ้นกับตัวท่านได้

สาเหตุของจิตไม่สงบมีอยู่ ๘ ประการ โยมต้องกำหนดจดจำข้อนี้ไว้ก่อน จิตไม่สงบทำ

อะไรก็ไม่สงบ ถ้าไม่ฝึกมาก่อน จิตไม่มีสมาธิ จะไม่มีความสงบในครอบครัวเลย สาเหตุนั้นได้แก่

๑. ไม่มีพอ ตะเกียกตะกายอยู่ร่ำไป ท่านจะไม่มีความสงบในครอบครัวเลย

๒. ใช้เวลาว่างมากเกินไป ไม่เอางานเอาการ พวกประเภทนี้ พวกจิตว่าง มันว่างจิตก็ไหนไปสู่ที่ต่ำ ชีวิตจะไร้สาระไม่สงบ

๓. ถูกเบียดเบียนจิตใจ ครอบครัวไปอยู่ในหมู่บ้านที่เขาเบียดเบียนจิตใจ จิตท่านจะไม่สงบ

๔. อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความปกติ ปวดท้อง ปวดหัว ธาตุทั้ง ๔ ขาดไป อวัยวะไม่ปกติ ท่านจะขาดปัญญา จะสงบได้ไหม อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความสงบ ยกตัวอย่างให้เห็นอย่างง่าย ๆ ก่อนสอนก็ต้องไปปัสสาวะก่อน ไปถ่ายอุจจาระเสียก่อน ให้มันโล่งแล้วสอนต่อไป หากจิตไม่สงบแล้ว ท่านจะสอนเด็กไม่ได้ดีเลย

๕. โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ท่านเป็นโรคสามวันดีสี่วันไข้ อยู่ในภาวะอันนั้นแน่นอนที่สุด

๖. ถูกสิ่งแวดล้อมดึงไปในทางชั่ว เข้าไปอยู่ในกลุ่มคนเลว คนพาน สันดานบาป ดึงทุกวัน ดึงทุกเวลา จะไม่เกิดความสงบเลย

๗. ครอบครัวไม่มีความสุข ทะเลาะกันทุกวันจิตท่านจะไม่สงบ

๘. มัวเมาในอบายมุข เล่นการพนันไม่พัก เที่ยวสรวลเสเฮฮาในสังคมตลอดรายการ จิตท่านจะไม่สงบเลย นี่แหละจำไว้

การบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลอะไรก็ไม่ดีเท่าการเจริญพระกรรมฐานอีกแล้ว เพราะเป็นบุญที่สูง

ที่สุดในพระพุทธศาสนา จะเห็นทางมรรคมรรคา มองเห็นทางเดินที่ถูกต้องคือ มรรค ๘ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มีสติระลึกเสมอ สัมปรัญญะรู้ตัวเสมอ ทำอะไรรู้กาลเทศะ บาปบุญคุณโทษ รู้ว่าดีชั่วเป็นประการใด มันจะเกิดขึ้นแก่ตัวเองนั่นคือ ปัญญา ได้แก่ความไม่ประมาทตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



************************



แหล่งที่มา :

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม). ๒๕๕๐. ธรรมรักษา ๒. หจก. โรงพิมพ์คลัง

นานาวิทยา. ศูนย์ปฏิบัติธรรมเวฬุวัน จ.ขอนแก่น (สาขาวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี) ขอนแก่น.

หน้า ๒๔-๒๖.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น

จิตวิสุทธิ์


วัดพระธาตุดอยสุเทพวรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่


จิตตวิสุทธิ์




คำว่า จิตตวิสุทธิ์ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งจิต หมายถึง จิตที่เป็นสมาธิ จิตที่จะสงบ จิตที่จะเป็นสมาธิได้นั้นต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยคุณธรรมคือสติ ความระลึกรู้ และประกอบด้วยศีลเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ดังที่ได้กล่าวไว้ ตั้งแต่คราวก่อน เมื่ออบรมศีลดีแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดสมาธิหรือบางทีท่านก็กล่าวถึงว่า จิตที่สงบนั้นต้องอาศัยกายที่สงบเรียกว่า กายวิเวก ความสงบความสงัดทางกาย หมายความว่า เราอยู่ในสถานที่สงบสงัดไม่มีเสียงอื้ออึง และทางกายของเราก็ไม่ทำผิดในทางกาย เมื่อมีกายวิเวกความสงบสงัดทางกายแล้วจะเป็นเหตุให้เกิด

จิตวิเวก ความสงบความสงัดทางจิตเมื่อเราได้ฝึกจิตให้สงบแล้วจะเป็นเหตุให้เกิด อุปธีวิเวก ความสงบจากกิเลส ความสงบเป็นเหตุให้เกิดความสุข “ นัตถิสันติปรังสุขัง ” สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี สงบน้อย สงบพอประมาณ สงบมากก็มีความสุขมาก

สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเรียกว่าจิตมีสมาธิจิตที่ประกอบด้วย คุณธรรม ซึ่งเป็นสมาธิจะทำให้จิตของเรามีสมาธิ ถ้าหากว่าจะกล่าวในเรื่องของขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตั้งจิตนั้นคือ ตัววิญญาณขันธ์ เป็นธรรมชาติรู้อารมณ์นึกคิด ส่วนตัวสมาธินั้นเป็นสังขาร สมาธิเป็นสังขาร ขันธ์ ฝ่ายกุศลเรียก “เอกัคตาเจตสิก” แปลว่า เจตสิกที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายความถึงว่า เมื่อเจตสิกที่เรียกว่า เอกัตาสิกนี้เกิดประกอบกับจิตแล้ว จะทำให้จิตของเรานั้นมีสมาธิคือตั้งมั่นแต่ว่าการตั้งมั่นนี้มีถึง 3 ระยะ คือ ขณิกสมาธิ ตั้งมั่น ชั่วขณะ อุปจารสมาธิ ตั้งมั่นใกล้จะแนบแน่น อัปนาสมาธิ ตั้งมั่นแนบแน่นถึงความเป็นฌาณ

ในขณะที่ท่านทั้งหลายกำลังฟังธรรมนั้น ก็คือว่าจิตของท่านมีสมาธิ ถ้าหากว่าท่านมีสติกำหนดเนื้อความที่ได้ฟังนี้ทุกขณะจิตไม่คิดล่องลอยไปทางอื่นถือว่าจิตของท่านมีสมาธิ แต่ถ้าหากว่าจิตของท่าน คิดฟุ้งซ่าน ล่องลอยไปทางอื่นแล้วแสดงว่าจิตของท่านนั้นไม่มีสมาธิ ไม่ได้อยู่ที่ท่านกำลังฟังอยู่ในขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอน คู้เหยียด เคลื่อนไหว ก็ถือว่าจิตของท่านสมาธิเวทนาเกิดขึ้นเป็นความสุขหรือความทุกข์ ให้มีสติรู้ก็ถือว่ามีสมาธิ จิตคิดอะไรก็มีสติรู้ก็ถือว่าสมาธิ

การที่จิตของเราไปตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งหรือที่เรียกว่า ชั่วขณะจิตหนึ่งอย่างนี้เรียกว่า จิตของท่านมีสมาธิแล้ว แต่ถ้าหากว่าไปรู้ด้วย ความโลภ โกรธ หลง ด้วยความคิดฟุ้งซ่าน อันเกิดจากกิเลสนั้นถือว่าไม่มีสมาธิ เพราะว่า สมาธินี้เป็นอกุศลธรรมเมื่อเรารู้แล้ว เกิดสติปัญญาจิต เป็นกุศล จึงเชื่อว่าจิตนั้นมีสมาธิ

ขณิกสมาธิ ตั้งมั่นชั่วขณะหนึ่งก็หมายความว่า เราเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตตั้งมั่นชั่วขณะหนึ่ง เช่น กำหนดรูปนั่งดูอาการของรูปนั่นอยู่ก็มีขณิกสมาธิ หรือกำหนดรูปยืน รูปเดิน หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดอารมณ์กรรมฐานนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจิตของเราตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐานนั้น ขณะชั่วครู่หรือเป็นพัก ๆ อย่างนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งมั่นชั่วขณะหนึ่งเมื่อปฏิบัติจนสมาธิแน่นิ่ง แต่ว่ายังไม่แนบแน่นจนเกิดเป็นนิมิตเป็นสีแจ้งต่าง ๆ หรือจิตนั้นมันอยู่ทีอารมณ์กรรมฐานนิ่งอยู่มาก ๆ ก็เรียกว่าอุปจารสมาธิ แปลว่า สมาธิใกล้จะถึงความเป็นญาณ บางทีเรียกว่า สมาธิอย่างเฉียด ๆ ก็ถือว่าใกล้จะถึงความเป็นญาณ ใกล้จะแนบแน่น เมื่อปฏิบัติสมถะกรรมฐาน กำหนดอารมณ์กรรมฐาน เช่น กสิน 10 อสุภะ 10 อย่างใดอย่างหนึ่ง จิตสงบมากนิ่งดีงามนาน ๆ เห็นสีแสงนิมิตต่างๆ แล้วก็กำหนดแนบแน่นอยู่ทีอารมณ์กรรมฐานนั้นจนไม่สนใจอารมณ์อื่นแนบแน่นอยู่เป็นเวลานาน ๆ จนองค์ฌานเกิดเรียกว่า อัปปนาสมาธิ แปลว่าสมาธิแนบแน่นหรือถึงความเป็นฌาน

คำว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายความว่าอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยแนบแน่นไม่สนใจอารมณ์อื่นนี้เรียกว่า ฌาน

ฌาน มี 2 ประเภท คืออารัมมณูปนิชฌาน ฌานที่กำหนดอารมณ์ แห่งสมาธิกรรมฐานแล้วเกิดองค์ฌานขึ้นอย่างนี้เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน ถ้าหากว่าเราเจริญวิปัสสนาจนได้วิปัสสนาฌานขั้นสูงกำหนดแนบแน่นอยู่ในอารมณ์วิปัสสนาอย่างนี้ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน แปลว่า ฌานที่เพ่งในอารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ผู้ที่บรรลุมรรคผลนั้นจะต้องเข้าถึงลักขณูปนิชญาน คือ ฌานที่เอาไตรลักษณ์เป็นอารมณ์เพ่งอยู่ที่รูปนามจนเป็นไตรลักษณ์อย่างแนบแน่นสนิท ไม่คิดถึงเรื่องอื่นอย่างนี้เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

“สำหรับจิตตวิสุทธินี้ ก็คือ จิตที่มีสมาธินั้นเอง”



แหล่งที่มา :

บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. จิตตวิสุทธิ์ . วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์ ถนนจรัลสนิทวงศ์

กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 9-10.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น